แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ สาระOnet แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ สาระOnet แสดงบทความทั้งหมด

วันจันทร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

ดาวเทียมดวงแรกของสหรัฐคือ ดาวเทียมเอกซ์พลอเรอร์ 1



ดาวเทียมดวงแรกของสหรัฐอเมริกาคือ  ดาวเทียม Explorer1  
ถูกส่งขึ้นสู่อวกาในปี ค.ศ. 1958

ปี ค.ศ.1958 : ดาวเทียมเอกซ์พลอเรอร์ 1 เป็นดาวเทียมของสหรัฐอเมริกาดวงแรก ขึ้นไปโคจรอยู่ในอวกาศ และค้นพบแถบกัมมันตรังสีแวน อัลเลน (Van Allen Radiation Belt)
หลังจากที่เป็นฝ่ายไล่ตามสหภาพโซเวียต ในการแข่งขันพิชิตอวกาศ สหรัฐอเมริกาก็ประสบความสำเร็จ ส่งดาวเทียมขึ้นสู่อวกาศได้เป็นครั้งแรกกับดาวเทียมเอกซ์พลอเรอร์ 1
 
Launch of Explorer 1 on January 31, 1958

 

ดาวเทียม เอกซ์พลอเรอร์ 1
1. มีน้ำหนัก 14 กิโลกรัม
2. ถูกส่งขึ้นสู่อวกาศ วันที่ 31 มกราคม ค.ศ.1958 และก็ได้ปฏิบัติหน้าที่อย่างดีเยี่ยม
3. ทำให้มีการค้นพบแถบกัมมันตรังสี แวน อัลเลน (Van Allen Radiation Belt) รอบโลก ซึ่งเป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อการส่งมนุษย์ขึ้นสู่อวกาศ และการทำงานของดาวเทียมวิทยาศาสตร์หรือดาวเทียมสำรวจต่างๆ





ที่มา https://en.wikipedia.org/wiki/Explorer_1

สิ่งมีชีวิตสิ่งแรกของโลกที่ถูกส่งขึ้นไปโคจรอยู่ในอวกาศ



สิ่งมีชีวิตสิ่งแรกของโลกคือ สุนัขที่ชื่อว่าไลก้า (Laika)  




ถูกส่งขึ้นไปโคจรอยู่ในอวกาศกับดาวเทียม สปุตนิค 2 ซึ่งสปุตนิค 2 เป็นดาวเทียมขนาดใหญ่ มีน้ำหนักประมาณ 500 กิโลกรัม ถูกส่งขึ้นสู่อวกาศ ในวันที่ 3 เดือนพฤศจิกายน ค.ศ.1957 และได้นำสุนัขไลก้าขึ้นไปท่องอวกาศรอบโลกด้วยและเป็นตัวแรกที่ตายในวงโคจรด้วยเช่นกัน
เนื่องจากเป็นที่ทราบกันน้อยมากถึงผลกระทบของการบินอวกาศที่มีต่อสิ่งมี ชีวิตในขณะภารกิจของไลก้านั้น และเทคโนโลยีในการผละออกจากวงโคจรยังไม่ถูกพัฒนา จึงไม่มีการคาดว่าไลก้าจะรอดชีวิต นักวิทยาศาสตร์บางคนเชื่อว่ามนุษย์จะไม่อาจมีชีวิตอยู่ได้จากการปล่อยหรือ สภาพของอวกาศ ดังนั้น วิศวกรจึงมองว่าเที่ยวบินที่ส่งสัตว์ขึ้นสู่อวกาศด้วยนั้นจำเป็นก่อนภารกิจ ของมนุษย์ไลก้าที่เป็นสุนัขเร่รอนเดิมชื่อ คุดร์ยัฟกา เข้าสู่การฝึกกับสุนัขอื่นอีกสองตัว และได้รับเลือกเป็นผู้โดยสารไปกับยานอวกาศโซเวียต สปุตนิก 2 ในท้ายที่สุด ซึ่งถูกส่งขึ้นสู่อวกาศเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน ค.ศ. 1957
คาดว่าไลก้าน่าจะตายภายในไม่กี่ชั่วโมงหลังปล่อยยานจากความร้อนเกิน ซึ่งเป็นไปได้ว่าเกิดจากความล้มเหลวของระบบยังชีพกลางอาร์-7 (R-7 sustainer) ในการแยกจากน้ำหนักบรรทุก สาเหตุและเวลาการตายที่แท้จริงของมันนั้นไม่ได้รับการเปิดเผยต่อสาธารณะ กระทั่ง ค.ศ. 2002 แต่ก่อนหน้านั้นได้รายงานอย่างกว้างขวางว่ามันตายเพราะขาดออกซิเจนในวันที่หก หรือตามที่รัฐบาลโซเวียตอ้างแต่แรก มันตายสบาย (euthanized) ก่อนออกซิเจนพร่องไปอีก อย่างไรก็ดี การทดลองพิสูจน์ว่าไลก้าสามารถรอดชีวิตจากการปล่อยยานขึ้นสู่วงโคจรและทนต่อสภาวะไร้น้ำหนัก ซึ่งเป็นการกรุยทางแก่การบินอวกาศมนุษย์และให้ข้อมูลแรก ๆ บางส่วนแก่นักวิทยาศาสตร์ว่า สิ่งมีชีวิตตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมในการบินอวกาศอย่างไร









ที่มา https://th.wikipedia.org

วันจันทร์ที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2559

ข้อแตกต่างของ สารละลาย คอลลอยด์ และ สารแขวนลอยด์

ข้อแตกต่างของ สารละลาย คอลลอยด์ และ สารแขวนลอยด์

1. ขนาดของอนุภาค เรียงจากใหญ่ไปเล็ก ได้แก่
     - สารละลาย (น้อยกว่า  10-7  cm.)
     - คอลลอยด์  ( ระหว่าง 10-7  - 10-4  cm. )
     - สารแขวนลอยด์ ( มากกว่า 10-4  cm. )

2. สารละลาย คอลลอยด์ อนุภาคเคลื่อนที่ได้ตลอดเวลา จึงไม่ตกตะกอน ส่วนสารแขวนลอยด์ อนุภาคไม่เคลื่อนที่จึงตกตะกอน

3. อนุภาคในสารละลายสามารถลอดผ่านกระดาษกรองและเซลโลเฟนได้ ส่วนคอลลอยด์ลอดผ่านกระดาษกรอง สารแขวนลอยด์ไม่ผ่านทั้งกระดาษกรองและเซลโลเฟน

4. ปรากฎการณ์เมื่อผ่านลำแสงต่างกันคือ คอลลอยด์เกิดลำแสง ปรากฏการณ์นี้เรียกว่า “กระเจิงแสง” หรือ “ปรากฏการณ์ทินดอลล์”

การค้นพบเซลล์สิ่งมีชีวิต

การค้นพบเซลล์สิ่งมีชีวิตเกิดขึ้น ในปี ค.ศ. 1655 โดย นักพฤกษศาสตร์ชาวอังกฤษ โรเบิร์ต ฮุค (Robert Hooke) ได้ใช้กล้องจุลทรรศน์ที่เขาประดิษฐ์ขึ้นสังเกตโครงสร้างเล็กๆ ของไม้คอร์ก (cork) ที่ถูกเฉือนเป็นแผ่นบางๆ พบว่ามีลักษณะเป็นห้องเล็กๆ คล้ายรังผึ้ง เขาได้เรียกห้องเล็กๆเหล่านี้ว่าเซลล์ ซึ่งการศึกษาเซลล์ไม้คอร์กของโรเบิร์ต ฮุค ในครั้งนั้นเป็นการค้นพบเซลล์ของสิ่งมีชีวิตเป็นครั้งแรก แต่เป็นเซลล์ที่ตายแล้วคงเหลือแต่ส่วนของผนังเซลล์ (cell wall) เท่านั้น




 รูปที่ 3.1 กล้องจุลทรรศน์ของโรเบิร์ต ฮุค (ซ้าย) และเซลล์ไม้คอร์กที่ตายแล้ว (ขวา)


 
ต่อมาในปี ค.ศ. 1674 -1683 อังตวน แวน เลเวนฮุค (Anton Van Leeuwenhoek)นักวิทยาศาสตร์ชาวดัทช์ (Dutch) ได้พัฒนากล้องจุลทรรศน์ที่มีกำลังขยายกว่า 200 เท่าและใช้ในการสังเกตสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กรูปร่างๆ แตกต่างกัน ได้แก่ โปรโทซัว (protozoa) แบคทีเรีย (bacteria) และสเปิร์ม (sperm) การค้นพบในครั้งนี้ ถือว่าเป็นการค้นพบเซลล์ จุลินทรีย์เป็นครั้งแรก


 
รูปที่ 3.2 อันตวน แวน เลเวนฮุค (ซ้าย) และกล้องจุลทรรศน์ของเลเวนฮุค (ขวา)

 
หลังจากนั้นในปี ค.ศ. 1830-1839 นักพฤกษศาสตร์ มัตทิอัส ชไลเดน (Matthias Schleiden) และนักสัตววิทยา เทโอดอร์ชวันน์(TheodorSchwann) ได้ศึกษาเซลล์พืชและเซลล์สัตว์ชนิดต่างๆรวมทั้งศึกษาบทบาทของนิวเคลียส (nucleus)ภายในเซลล์ต่อการแบ่งเซลล์ชไลเดนและชวันน์ได้รวบรวมความรู้ที่ได้ และจัดตั้งเป็นทฤษฎีเซลล์ (TheCellTheory)

โดยมีใจความที่สำคัญดังนี้

1. สิ่งมีชีวิตทุกชนิดประกอบด้วยเซลล์
2. เซลล์เป็นหน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต
3. เซลล์เกิดจากการแบ่งตัวของเซลล์ที่มีอยู่ก่อน

หลังการจัดตั้งทฤษฎีเซลล์ ทำให้นักวิทยาศาสตร์ในรุ่นต่อมาได้ให้ความสนใจเกี่ยวกับองค์ประกอบ ภายในเซลล์และหน้าที่ ขององค์ประกอบเหล่านี้มากขึ้นซึ่งทำให้เกิดความรู้ใหม่ที่ลึกซึ้งและ เป็นประโยชน์อย่างมากมายในปัจจุบัน




รูปที่ 3.3 มัตทิอัส ชไลเดน (ซ้าย) และทีโอดอร์ ชวันน์ (ขวา)



















ขอบคุณที่มา : http://www.ipecp.ac.th/ipecp/cgi-binn/BP1/Program/chapter3/p1.html

สิ่งมีชีวิตบนโลกประกอบด้วยธาตุหลัก 4 ธาตุ คือ

สิ่งมีชีวิตบนโลกประกอบด้วยธาตุหลัก 4 ธาตุ คือ 

ไฮโดรเจน (H)
ออกซิเจน (O)
ไนโตรเจน (N)
คาร์บอน (C)

ซึ่งเป็นธาตุเบาที่มีอยู่ทั่วไปบนโลกและในจักรวาล นอกจากนั้นเซลล์ยังใช้

ฟอสฟอรัส(P) และ กำมะถัน (S) ในการสร้างวัสดุโครงสร้างของเซลล์ และกระบวนการเผาผลาญอาหาร เพื่อสร้างพลังงาน ธาตุทั้งหกนี้พบทั่วไปในสารอินทรีย์ของเซลล์ โดยประกอบกันเป็นโมเลกุล ดังนี้

น้ำ เป็นองค์ประกอบหลักของเซลล์ มีอยู่ประมาณร้อยละ 70 ของน้ำหนักเซลล์ทั้งหมด

ไขมัน (Lipids) มีโครงสร้างเป็นไฮโดรคาร์บอน ไม่ละลายน้ำ เป็นองค์ประกอบหลักของ เนื้อเยื้อต่างๆ และมีหน้าที่เก็บสะสมพลังงานเคมี

คาร์โบไฮเดรต (Carbohydrate) มีโครงสร้างเป็นไฮโดรคาร์บอนเช่นเดียวกับไขมัน แต่มีกลุ่มไฮดรอกซิล (-OH) ซึ่งมีคุณสมบัติในการละลายน้ำ ประกอบด้วยวงแหวนโมเลกุล ของน้ำตาล ซึ่งเมื่อแตกตัวแล้วให้พลังงานออกมา

โปรตีน (Protein) เป็นโมเลกุลที่มีความสลับซับซ้อนมากที่สุด ประกอบขึ้นด้วยกรดอะมิโน (Amino acid) หลายชนิดเรียงต่อกันเป็นสายยาวสลับซับซ้อน คอยทำหน้าที่ต่างๆ ภายในเซลล์ นับตั้งแต่ควบคุมปฏิกิริยาเคมีไปจนถึงเป็นโครงสร้างของร่างกาย ได้แก่ โปรตีนโครงสร้าง เช่น ขน เล็บ เอ็น; โปรตีนขนส่ง เช่น เฮโมโกลบิน ในเม็ดเลือด; โปรตีนภูมิคุ้มกัน เช่น แอนติบอดี; โปรตีนเร่งปฏิกิริยา เช่น เอนไซม์ เป็นต้น (สิ่งชีวิตสร้างโปรตีนมากมายหลายพันชนิด ขึ้นจากกรดอะมิโนเพียง 20 ชนิด)


ที่มา ซอสมะเขือเทศ Ketchup

รากศัพท์ของ "ซอสมะเขือเทศ" Ketchup เป็นคำศัพท์ที่มีต้นกำเนิดมาจากภาษาจีน เพราะคำว่า Ketchup ที่แปลว่า ซอสมะเขือเทศ หรือน้ำซอสชนิดเข้มข้นนั้น เดิมทีมาจากภาษาจีนฮกเกี่ยนว่า "คีเซียบ(ke-tsiap)"  หมายถึง น้ำหมักปลา ปรุงรสด้วยเครื่องเทศ และสมุนไพร ซึ่งนับเป็นเครื่องเคียงปรุงรสอาหารที่นิยมมากในประเทศจีน และแพร่หลายมายังยุโรปโดยนักเดินเรือทะเล ต่อมาชาวอังกฤษได้นำเครื่องปรุงชนิดนี้ไปดัดแปลงนำมาผสมกับวัตถุดิบที่หาได้ในท้องถิ่น อาทิ เห็ด วอลนัท หรือหอยนางรม แล้วมีการเรียกเพี้ยนไปเรื่อยๆ จาก Catchup เป็น Ketchup ในที่สุด และยังมีส่วนผสมของอาหารอื่นๆ อีกมากมายที่เมื่อย้อนกลับไปดูแล้วต่างมีที่มาจากประเทศจีน เช่น แผ่นทอร์ทิลล่า และพาสต้า


การฝึกสวนสนามของทหาร

การฝึกสวนสนามของทหาร ประเพณีของทหาร ตำรวจ ของประเทศจีนจะต้องได้รับการฝึกฝนอย่างเคร่งครัดในการเดินสวนสนาม โดยทุกคนจะต้องยกแขนของพวกเขาให้ตรงกับคนอื่น ๆ ในระดับความสูงเดียวกัน โดยจะใช้ลวดขึงติดกับเสาเพื่อรักษาระดับ และ เพื่อให้ทหารทุกคนยกมือขึ้นในระดับเดียวกันทุกท่วงท่า


ทหารจะต้องเหน็บเข็มอันแหลมคมไว้ที่ปกเสื้อ

การฝึกทหาร ประเทศจีน เป็นอีกประเทศหนึ่งที่มีการฝึกทหารกันแบบเข้มงวด และจริงจังมาก ซึ่งถึงขั้น "นำเข็มแหลม" ปักไว้บนปกเสื้อของทหารเพื่อให้ทหารคอเชิดอยู่ตลอดเวลา ซึ่งอาจจะดูเหมือนทรมาน หากคนใดรู้สึกล้าและคิดจะพักคอมีหวังโดนเข็มแทงให้สะดุ้งกันได้เลย และทำให้คุณหายง่วงไปเลยด้วย



วันพฤหัสบดีที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2559

การสืบพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต

การสืบพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต

 1. การแตกหน่อ (Budding) 

เป็นการสืบพันธุ์ของสัตว์ชั้นต่ำ โดยเมื่อเจริญเติบโตเต็มที่แล้วจะมีการสร้างเนื้อเยื่อข้างลำตัวงอกออกมา แล้วเจริญเติบโตเป็นตัวเล็ก ๆ ที่มีอวัยวะต่าง ๆ เหมือนตัวแม่ หลังจากติดอยู่กับตัวแม่ระยะหนึ่งก็จะหลุดออกมาไปอยู่อิสระตามลำพัง สัตว์ที่มีการสืบพันธุ์ลักษณะนี้ได้แก่

ไฮดรา หนอนตัวแบน ฟองน้ำ ปะการัง และสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว (พวกโพรติสต์) เช่น ยีสต์ ไฮดราฟองน้ำ ในพืชชั้นสูงก็มีพวก ขิง ข่า กล้วย หน่อไม้ เป็นต้น –

โพรติสต์ หมายถึง สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวหรือหลายเซลล์ที่ไม่อาจจัดเป็นพืชหรือสัตว์ได้อย่างชัดเจน เช่น เห็ด รา ยีสต์ โปรโตซัว ไวรัส สาหร่ายสีเขียว สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน เป็นต้น –ไฮดรา (Hydra) เป็นสัตว์ชั้นต่ำประกอบด้วยเซลล์หลายเซลล์ มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ลำตัวคล้ายเส้นด้าย มีขนาดประมาณ 0.5 – 1 มิลลิเมตร ยาวประมาณ 0.5 – 1 เซนติเมตร มีหนวดเป็นเส้นยาว 4 – 12 เส้นลำตัวสีขาวขุ่น แต่บางชนิดมีสีเขียว ซึ่งเกิดจากสาหร่ายสีเขียวที่อาศัยอยู่ในตัวไฮดรา จึงทำให้สามารถสังเคราะห์แสงได้ อาหารของไฮดรา คือ ไรน้ำและตัวอ่อนของแมลงในน้ำ

ไฮดราสามารถสืบพันธุ์ได้ทั้งแบบไม่อาศัยเพศและแบบอาศัยเพศ ดังนี้

การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศของไฮดรา เมื่อไฮดราเจริญเติบโตเต็มวัย จะมีการสร้างเนื้อเยื่อข้างลำตัวงอกออกมา แล้วเจริญเติบโตเป็นไฮดราตัวเล็ก ๆ หลังจากนั้นก็จะหลุดออกไปอยู่ตามลำพังได้เอง การสืบพันธุ์แบบนี้ เรียกว่า การแตกหน่อ (Budding)

การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศของไฮดรา ไฮดรามีการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศได้ แต่เกิดขึ้นไม่บ่อยนัก ซึ่งจะเกิดขึ้นในกรณีที่อาหารไม่สมบูรณ์ ไฮดราจะมี 2 เพศอยู่ในตัวเดียวกัน โดยมีรังไข่อยู่ข้างลำตัว ลักษณะเป็นปุ่มใหญ่เหนือรังไข่บริเวณใกล้ ๆ หนวด (Tentacle) จะมีอัณฑะเป็นปุ่มเล็ก ๆ รังไข่จะผลิตเซลล์ไข่ และอัณฑะจะผลิตเซลล์อสุจิ โดยปกติไข่และตัวอสุจิจะเติบโตไม่พร้อมกัน จึงต้องผสมกับตัวอื่น ตัวอสุจิจากไฮดราตัวหนึ่งจะว่ายน้ำไปผสมกับไข่ที่สุกในรังไข่ของไฮดราตัวอื่นไข่ที่ผสมแล้วจะเป็นไซโกตซึ่งจะเจริญเติบโตอยู่กับตัวแม่ระยะหนึ่งจึงจะหลุดออกไปจากตัวแม่ แล้วเจริญเป็นไฮดราตัวใหม่ต่อไป

2. การแบ่ง ตัวออกเป็นสอง (Binary Fission) เกิดขึ้นกับสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว (พวกโพรติสต์) ได้แก่ อะมีบา พารามีเซียม ยูกลีนา และแบคทีเรีย การสืบพันธุ์วิธีนี้เกิดขึ้นโดยการแบ่งตัวจาก 1 เซลล์เป็น 2 เซลล์ โดยนิวเคลียสของเซลล์จะแบ่งตัวก่อน แล้วไซโทพลาซึมจะแบ่งตามได้เป็นตัวใหม่ 2 ตัว ซึ่งแต่ละตัวจะมีลักษณะเหมือนตัวเดิมทุกประการ เช่น การแบ่งตัวของอะมีบา

 3.การงอกใหม่ (Regeneration) พบในสัตว์ชั้นต่ำ ได้แก่ ปลาดาว พลานาเรีย ไส้เดือนดิน ปลิง ซีแอนนีโมนี การงอกใหม่เป็นการสร้างส่วนของร่างกายที่ขาดหายไป โดยสัตว์เหล่านี้ถ้าร่างกายถูกตัดออกเป็นส่วน ๆ แต่ละส่วนจะสามารถงอกเป็นสิ่งมีชีวิตตัวใหม่ได้ ดังนั้นการงอกใหม่นี้จึงทำให้มีจำนวนสิ่งมีชีวิตเพิ่มขึ้นจากจำนวนเดิม

4.การสร้างสปอร์ (Spore Formation) เป็นการสืบพันธุ์ที่เกิดจากการแบ่งนิวเคลียสหลาย ๆ ครั้ง ต่อจากนั้นไซโทพลาซึมจะแบ่งตาม แล้วจะมีการสร้างเยื่อกั้นเป็นส่วน ๆ แต่ละส่วนจะมีนิวเคลียส 1 อัน เรียกว่า สปอร์ (Spore) สัตว์ที่มีการสืบพันธุ์แบบนี้ ได้แก่ พลาสโมเดียม ซึ่งเป็นสัตว์ที่ทำให้เกิดโรคไข้มาลาเรีย





วันเสาร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2559

กลุ่มภาษา Gothic













ภาษา Gothic ในกลุ่ม East Germanic

ภาษา German อยู่ในกลุ่ม East Germanic
ภาษา Dutch อยู่ในกลุ่ม East Germanic
ภาษา English อยู่ในกลุ่ม East Germanic
ภาษา Danish อยู่ในกลุ่ม North Germanic
ภาษา Swedish อยู่ในกลุ่ม North Germanic






วันศุกร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2559

ภาษาอังกฤษกับภาษาอื่น ๆ ในตระกูล Indo - European


ภาษากลุ่มใหญ่ ๆ ของกลุ่มอินโดยูโรเปียนมีทั้งหมด 10 กลุ่มได้แก่
1. Indian
2. Indo - Iranian
3. Amenian
4. Hellenic
5. Albanian
6. Italic
7. Blto - Slovic
8. Germanic
9. Celtic
10. Hittie and Tocharian


ชนชาติต่าง ๆ ที่ได้รับเอาวิธีการเขียนของโรมัน


ชนชาติต่าง ๆ ที่ได้รับเอาวิธีการเขียนของโรมัน
หลังจากที่โรมันได้รับการเขียนจากกรีกมาแล้ว ก็ดัดแปลงวิธีการเขียนให้เป็นแบบตัวเอง โดยมีชนชาติต่าง ๆ เช่น ฝรั่งเศส เยอรมัน สเปน ได้รับวิธีการเขียนแบบโรมันไปใช้ในภาษาของตน ส่วนพวกสลาฟที่นับถือศาสนาคริสต์จากกรุงโรม เช่น เชค สโลวัค โครทส์ ฯลฯ ใช้อักษรแบบโรมันแต่มีการดัดแปลงโดยเติมเครื่องหมายบนตัวอักษร เช่น ภาษา Polish ใช้   cํ   และภาษา Czech ใช้ cv




การเกิดอักษรโรมัน


การเกิดอักษรโรมัน

วิวัฒนาการอักษรเกิดจากการบันทึกเหตุการณ์ด้วยการวาดภาพของพวกอินเดียนแดงขาวสุเมเรียน และ พวกบาบิโลเนียน ซึ่งพวกอินเดียนแดงจะวาดภาพลงบนหนังสัตว์ใช้ในการสื่อสารระหว่างเผ่าที่ใช้ภาษาแตกต่างกัน ระหว่างปี 3,000 - 4,000 BC ชาวสุเมเรียนซึ่งตั้งถิ่นฐานอยู่ทางใต้ของเมโสโปเตเมีย ได้สลักอักษรภาพบนดินเหนียว  ทำให้เกิดเป็นรูปลิ่ม (Wedge shaped mark ) ทำให้เกิดอักษรที่เรียกว่า "Coneiform" (อักษรลิ่ม) หรือเรียกเป็นวิวัฒนาการจาก pictograph ---> ideograph ( การเขียนสัญลักษณ์แทนความคิด) 

ชาวสุเมเรียนเป็นพวกมีอิทธิพลมากที่สุดในบริวเณเมโสโปเตเมีย ต่อมาถูกกลุ่มชนเซมิติค เฃ่น ชาวลาบิโลเนีย และ อัสซีเรียเข้ามามิทธิพลแทนที่ และ รับเอาการเขียนของชาวสุมเมเรียนไปดัดแปลงให้เป็นของตนเองจน "อักษรลิ่ม" กลายเป็นภาษาเขียนของชาวตะวันออก.

มาถึงสมัยที่ใช้พู่กันและขนนก เขียนบนกระดาษ ( papyrus ) ซึ่งทำให้วิธีการเขียนง่ายขึ้น เช่น การเขียนของชาวอียิปต์ เมื่อ 3,000 BC. เรียกว่า "ไฮโรกลิฟฟิค ( Hieroglyphic )" แปลจากภาษากรีก หมายถึง holy carved เพราะชาวกรีกเชื่อว่าการเขียนอักษรนี้เพื่อจารึกเกี่ยวกับศาสนา

ประมาณ 700 BC. ชาวกรีกได้เดินทางไปยังตะวันออกและได้พบวิธีการเขียนอักษรของพวกฟีนีเชยน
( Phoenicians )  และกรีกได้รับอักษรมาและดัดแปลงให้เป็นแบบกรีกพร้อมทั้งเรียกชื่อการเขียนอักษรแต่ละตัวด้วย เช่่น A = Aleph เปลี่ยนให้เป็นกรีกลงท้ายด้วยสระ = Alpha และ B = Beth เปลี่ยนชื่อเป็น Beta

 A = Aleph --> Alpha
 B =  Beth  --> Beta

สรุปภาษาของชาวสุเมเรียน

  - ใช้รูปภาพแทนสัญลักษณ์ของคำ
  - วิวัฒนาการถึง ideogram มีอักษรลิ่ม
  - สัญลักษณ์แทนพยางค์


อักษรกรีกที่ใช้กันที่กรุงเอเธนส์ ซึ่งเรียกว่า “อักษรไอโอนิค (Ionic Alphabet)” อักษรนี้ได้กลายมาเป็นการเขียนแบบมาตรฐานของกรีก และโรมันได้รับการเขียนอักษรของกรีกจึงนำไปดัดแปลงวิธีการเขียนใหม่ให้เป็นแบบของโรมันเอง โดยชาติต่าง ๆ ในยุโรป เช่น ฝรั่งเศส เยอรมัน สเปน ได้รับเอาวิธีการเขียนแบบโรมันไปใช้ในภาษาของตน



วันพฤหัสบดีที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2559

ภาษาคืออะไร


ภาษาคือ สัญญาณที่มีโครงสร้างเป็นระบบ สัญญาณที่ว่าอาจมาในรูปแบบของเสียงเรียกว่า “ภาษาพูด” หรือ อาจมาในรูปของการเขียนสัญลักษณ์เรียกว่า “ภาษาเขียน”


ภาษาที่เกิดขึ้นครั้งแรกในโลกคือ

ภาษาที่เกิดขึ้นครั้งแรกในโลกคือ   ภาษาพูด เป็นภาษาที่เกิดขึ้นเป็นหมื่น ๆ ปีมาแล้ว ภาษาเขียนเป็นภาษาที่เกิดขึ้นตอนหลังประมาณ 5,000 ปีมาแล้ว โดยพวกสุเมเรียน ภาษาเขียนจึงเป็นวิวัฒนาการขั้นแรกของภาษาพูดที่ถ่ายทอดเสียงลงเป็นสัญลักษณ์โดยมีกฏเกณฑ์ และ เป็นระบบ


วันศุกร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2559

ระบบกฎหมายของโลก มี 2 แบบ

ระบบกฎหมายของโลก มี 2 แบบ

1. Civil Law คือ ระบบประมวลกฎหมาย เป็นระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร ใช้ในประเทศต่าง ๆ ดังนี้ ได้แก่ ไทย เยอรมัน ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น เป็นต้น

2. Common Law หรือ ระบบเองโกลอเมริกันเป็น ระบบกฎหมายจารีตประเพณี หรือระบบกฎหมายที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ใช้ใประเทศต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ ได้แก่ อังกฤษ อเมริกา แคนาดา นิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย สิงคโปร์ มาเลเซีย เป็นต้น
















ข้อแตกต่างระหว่างระบบ Civil Law และ ระบบ Common Law 

1. ทัศนคติ ต่อกฎหมายลายลักษณ์อักษร นักกฎหมาย Civil Law เห็นว่าเป็นระบบเหตุผลที่ถูกต้องและเป็นกฎหมายทั่วไป นักกฎหมาย Common Law เห็นว่าเป็นกฎหมายที่ยกเว้นจากหลักทั่วไป (หลักทั่วไป คือ คำพิพากษาบรรทัดฐาน)

2. ทัศนคติ ต่อคำพิพากษา ระบบ Civil Law เห็นว่าเป็นเพียงคำอธิบายในการใช้ตัวบทกฎหมายในการปรับใช้แก่คดีไม่ใช่บ่อเกิดแห่งกฎกมาย และไม่ใช้ตัวบทกฎหมาย ดังนั้น คำพิพากษาใหม่อาจจะตัดสินเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาเดิม โดยวางหลักเกณฑ์หรือให้เหตุผลเสียใหม่ได้ ระบบ Common Law เห็นว่าคำพิพากษาของศาลเป็นบ่อเกิดของกฎหมาย ดังนั้นคำพิพากษาต่อ ๆ มาในกรณีอย่างเดียวกันย่อมต้องตัดสินตามแนวคำพิพากษาก่อน ๆ นั้นเสมอ

3. ทัศนคติ ต่อขนบธรรมเนียม จารีตประเพณี และศีลธรรม นักกฎหมาย Civil Law เห็นว่ากฎหมายลายลักษณ์อักษรเป็นกฎหมายที่อยู่เคียงคู่กับจารีตประเพณี และถือว่ากฎหมายเป็นสิ่งค้ำจุลศีลธรรมด้วย นักกฎหมาย Common Law มีความโน้มเอียงที่จะเห็นว่าทั้งจารีตประเพณีและศีลธรรมเป็นคนละเรื่องกัน ไม่เกี่ยวกับกฎหมายลายลักษณ์อักษร

 4. การใช้การตีความกฎหมายลายลักษณ์อักษร ระบบ Civil Law นักกฎหมายอาจตีความกฎหมายโดยนัยต่าง ๆ ได้ โดยพิจารณาตามเหตุผลในบทกฎหมายนั้น ๆ ระบบ Common Law กฎหมายลายลักษณ์อักษรที่ถูกตราขึ้นโดยรัฐสภานั้นเป็น "การตีความตามตัวอักษร" ซึ่งเป็นวิธีการตีความในระบบ Common Law โดยเฉพาะ และกฎหมายลายลักษณ์อักษรจะถูกนำมาใช้โดยวิธีการเทียบเคียง (Analogy) ไม่ได้

5. วิธีบัญญัติกฎหมายลายลักษณ์อักษร ระบบ Civil Law โดยหลักนั้นจะบัญญัติกฎหมายที่มีลักษณะเป็นหลักเกณฑ์ทั่วไป (บททั่วไป) โดยจะใช้เทคนิคในการบัญญัติเพื่อให้ครอบคลุมในกรณีปัญหาและเปิดโอกาสให้ผู้ใช้กฎหมายมีดุลยพินิจในการใช้กฎหมายนั้นให้เหมาะสมกับความเป็นธรรมในแต่ละคดี แต่ในบางบทมาตราหากไม่วางหลักเกณฑ์ทั่วไปได้อย่างสมบูรณ์ ก็จะบััญญติเป็นรายละเอียด ระบบ Common Law วิธีการบัญญัตินั้นต้องเขียนให้แน่นอนชัดเจนและละเอียด ดังนั้น สำหรับผู้ที่คุ้นเคยกับตัวบทในประมวลกฎหมาย เมื่ออ่านกฎหมายลายลักษณ์อักษรของประเทศในระบบ Common Law จึงรู้สึกว่ากฎหมายเขียนละเอียดมากจนเกินความจำเป็น มีลักษณืคล้ายสัญญามากกว่าที่จะเป็นตัวบทกฎหมาย ทั้งนี้เพื่อผูกมัดให้ผู้ตีความได้ใช้กฎหมายตามที่ฝ่ายนิติบัญญัติต้องการ













 ขอบคุณที่มา : http://easylawbyarisara.blogspot.com/2013/08/civil-law-common-law-civil-law-common.html






บิดาแห่งวิชาเศรษฐศาสตร์ คือ อดัม สมิธ(Adam Smith)

อดัม สมิธ (อังกฤษ: Adam Smith)
   
    นักปรัชญาศีลธรรม และ นักเศรษฐศาสตร์การเมืองผู้บุกเบิกชาวสกอตแลนด์ อดัม สมิธ เป็นผู้มีส่วนสำคัญในการกำหนดแนวคิดเศรษฐศาสตร์แนวตลาดเสรี เป็นบุคคลสำคัญในขบวนการที่เป็นที่รู้จักในชื่อว่า "ยุคสว่างของสกอตแลนด์" (Scottish Enlightenment)

    แนวคิดทางปรัชญาการเมืองและสังคมของ อดัม สมิธ เป็นพื้นฐานและประยุกต์เข้ากับแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ในแง่ของการส่งเสริมการแข่งขันเสรี การแบ่งงานกันทำก่อให้เกิดความมั่งคั่งของประเทศ การค้าระหว่างประเทศ ซึ่งการแบ่งงานกันทำระหว่างประเทศ จำทำให้สวัสดิการทางเศรษฐกิจของโลกดีขึ้น ถ้ามีการแข่งขันอย่างเสรมูลค่าของสิ่งของจะเท่ากัน ต้นทุนการผลิตและปัจจัยการผลิตจะได้รับผลตอบแทนเท่ากันในทุกอาชีพ แนวคิดของ อดัม สมิธ ยังคงมีอิทธิพลอยู่แม้ในปัจจุบัน เช่น แนวคิดเรื่องความมั่งคั่งของประเทศ การแข่งขันเสรี และการคลัง


วันพฤหัสบดีที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2559

DNA & RNA แตกต่างกันอย่างไร

DNA & RNA แตกต่างกันอย่างไร


DNA 

1. เป็นสายคู่ (Double stand)

2. ไนโตรเจนเบส A G C T

3. น้ำตาล Deoxyribose

RNA

1. เป็นสายเดี่ยว ( Single stand)

2. ไนโตรเจนเบส A G

3. น้ำตาล Ribose


วันพุธที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2559

วัวควายมี 4 กระเพาะ

กระเพาะวัวควาย มี 4 ส่วน 
3 ส่วนแรกเป็นหลอดอาหาร ขยายตัวขึ้นไม่มีการหลั่งน้ำย่อยออกมา คือ

1. รูเมน (ผ้าขี้ริ้ว) - หมักอาหารโดยจุลินทรีย์ (มีการบีบตัวย้อนกลับไปที่ปาก)

2. เรติคิวลัม (รังผึ้ง) - บดและผสมอาหาร(มีการสำรอกอาหารไปที่หลอดอาหาร)

3. โอมาซัม (สามสิบกลีบ) - ดูดซับน้ำและสารละลาย และบดอาหารผสมอาหาร

4. อะโบมาซัม คือส่วนของกระเพาะที่แท้จริงมีน้ำย่อยหลั่งออกมาย่อยอาหาร


การแพร่ กับ การออสโมซิส

การแพร่ กับ การออสโมซิส
1. การแพร่ คือ สารที่มีความเข้มข้นสูงแพร่ไปยังบริเวณที่มีความเข้มข้นของสารต่ำกว่า
 *** ความเข้มข้นของสาร

2. การออสโมซิส คือ เป็นการแพร่ของโมเลกุลน้ำจากบริเวณที่มีน้ำมากไปบริเวณที่มีน้ำน้อยกว่า
*** น้ำมากไปน้ำน้อย

**น้ำแปรผกผันกับความเข้มข้น คือ น้ำมากความเข้มข้นของสารจะน้อยลง น้ำน้อยความเข้นข้นของสารจะมากขึ้น