แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ สาระโอเน็ต แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ สาระโอเน็ต แสดงบทความทั้งหมด

วันจันทร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

ดาวเทียมดวงแรกของสหรัฐคือ ดาวเทียมเอกซ์พลอเรอร์ 1



ดาวเทียมดวงแรกของสหรัฐอเมริกาคือ  ดาวเทียม Explorer1  
ถูกส่งขึ้นสู่อวกาในปี ค.ศ. 1958

ปี ค.ศ.1958 : ดาวเทียมเอกซ์พลอเรอร์ 1 เป็นดาวเทียมของสหรัฐอเมริกาดวงแรก ขึ้นไปโคจรอยู่ในอวกาศ และค้นพบแถบกัมมันตรังสีแวน อัลเลน (Van Allen Radiation Belt)
หลังจากที่เป็นฝ่ายไล่ตามสหภาพโซเวียต ในการแข่งขันพิชิตอวกาศ สหรัฐอเมริกาก็ประสบความสำเร็จ ส่งดาวเทียมขึ้นสู่อวกาศได้เป็นครั้งแรกกับดาวเทียมเอกซ์พลอเรอร์ 1
 
Launch of Explorer 1 on January 31, 1958

 

ดาวเทียม เอกซ์พลอเรอร์ 1
1. มีน้ำหนัก 14 กิโลกรัม
2. ถูกส่งขึ้นสู่อวกาศ วันที่ 31 มกราคม ค.ศ.1958 และก็ได้ปฏิบัติหน้าที่อย่างดีเยี่ยม
3. ทำให้มีการค้นพบแถบกัมมันตรังสี แวน อัลเลน (Van Allen Radiation Belt) รอบโลก ซึ่งเป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อการส่งมนุษย์ขึ้นสู่อวกาศ และการทำงานของดาวเทียมวิทยาศาสตร์หรือดาวเทียมสำรวจต่างๆ





ที่มา https://en.wikipedia.org/wiki/Explorer_1

สิ่งมีชีวิตสิ่งแรกของโลกที่ถูกส่งขึ้นไปโคจรอยู่ในอวกาศ



สิ่งมีชีวิตสิ่งแรกของโลกคือ สุนัขที่ชื่อว่าไลก้า (Laika)  




ถูกส่งขึ้นไปโคจรอยู่ในอวกาศกับดาวเทียม สปุตนิค 2 ซึ่งสปุตนิค 2 เป็นดาวเทียมขนาดใหญ่ มีน้ำหนักประมาณ 500 กิโลกรัม ถูกส่งขึ้นสู่อวกาศ ในวันที่ 3 เดือนพฤศจิกายน ค.ศ.1957 และได้นำสุนัขไลก้าขึ้นไปท่องอวกาศรอบโลกด้วยและเป็นตัวแรกที่ตายในวงโคจรด้วยเช่นกัน
เนื่องจากเป็นที่ทราบกันน้อยมากถึงผลกระทบของการบินอวกาศที่มีต่อสิ่งมี ชีวิตในขณะภารกิจของไลก้านั้น และเทคโนโลยีในการผละออกจากวงโคจรยังไม่ถูกพัฒนา จึงไม่มีการคาดว่าไลก้าจะรอดชีวิต นักวิทยาศาสตร์บางคนเชื่อว่ามนุษย์จะไม่อาจมีชีวิตอยู่ได้จากการปล่อยหรือ สภาพของอวกาศ ดังนั้น วิศวกรจึงมองว่าเที่ยวบินที่ส่งสัตว์ขึ้นสู่อวกาศด้วยนั้นจำเป็นก่อนภารกิจ ของมนุษย์ไลก้าที่เป็นสุนัขเร่รอนเดิมชื่อ คุดร์ยัฟกา เข้าสู่การฝึกกับสุนัขอื่นอีกสองตัว และได้รับเลือกเป็นผู้โดยสารไปกับยานอวกาศโซเวียต สปุตนิก 2 ในท้ายที่สุด ซึ่งถูกส่งขึ้นสู่อวกาศเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน ค.ศ. 1957
คาดว่าไลก้าน่าจะตายภายในไม่กี่ชั่วโมงหลังปล่อยยานจากความร้อนเกิน ซึ่งเป็นไปได้ว่าเกิดจากความล้มเหลวของระบบยังชีพกลางอาร์-7 (R-7 sustainer) ในการแยกจากน้ำหนักบรรทุก สาเหตุและเวลาการตายที่แท้จริงของมันนั้นไม่ได้รับการเปิดเผยต่อสาธารณะ กระทั่ง ค.ศ. 2002 แต่ก่อนหน้านั้นได้รายงานอย่างกว้างขวางว่ามันตายเพราะขาดออกซิเจนในวันที่หก หรือตามที่รัฐบาลโซเวียตอ้างแต่แรก มันตายสบาย (euthanized) ก่อนออกซิเจนพร่องไปอีก อย่างไรก็ดี การทดลองพิสูจน์ว่าไลก้าสามารถรอดชีวิตจากการปล่อยยานขึ้นสู่วงโคจรและทนต่อสภาวะไร้น้ำหนัก ซึ่งเป็นการกรุยทางแก่การบินอวกาศมนุษย์และให้ข้อมูลแรก ๆ บางส่วนแก่นักวิทยาศาสตร์ว่า สิ่งมีชีวิตตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมในการบินอวกาศอย่างไร









ที่มา https://th.wikipedia.org

ดาวเทียม ดวงแรกของโลก



ดาวเทียม ดวงแรกของโลก


Sputnik Program คือ โครงการส่งยานอวกาศไร้คนขับ ขึ้นสู่วงโคจรของโลก ของสหภาพโซเวียต ซึ่ง สปุตนิกหนึ่ง (Sputnik 1) คือ สุดยอดความสำเร็จในการแข่งขันในการเป็นผู้นำทางด้านอวกาศ ของสหภาพโซเวียต ในยุคสงครามเย็น

รายละเอียดเกี่ยวกับ ดาวเทียม ดวงแรกของโลก

  • สปุตนิก 1 ถือ เป็นสิ่งประดิษฐ์ ที่ มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้น ชิ้นแรกที่ถูกส่งขึ้นสู่วงโคจรของโลกสำเร็จ
  • สปุตนิก 1 ถูกส่งขึ้นสู่วงโคจรของโลกเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 1957 โดยใช้จรวด R-7
  • สปุตนิก 1 มีรูปทรงเป็น ทรงกลมขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 58 เซนติเมตร
  • มีน้ำหนักประมาณ 83.6 กิโลกรัม
  • ดาวเทียมมีเสารับ-ส่งสัญญาณ ทำหน้าที่สำรวจพื้นผิวของโลกและชั้นบรรยากาศ
  • มันโคจรรอบโลกโดยใช้เวลาประมาณ 96.2 นาที
  • อยู่ในวิถีโคจรเหนือพื้นโลกใกล้ที่สุดที่ระดับความสูง 230 กิโลเมตร ไกลที่สุดที่ระดับความสูง 950 กิโลเมตร
  • การควบคุม และการติดต่อกับดาวเทียมสปุตนิกใช้สัญญาณวิทยุที่ส่งจาก Jodrell Bank Observatory
  • ความ สำเร็จนี้ทำให้อเมริกาต้องขวัญผวา เนื่องจากดาวเทียมสปุตนิกโคจร ผ่านสหรัฐอเมริกา 7 รอบ ในแต่ละครั้งอเมริกต้องหวาดกลัว ว่าทางโซเวียตจะมีการทิ้งระเบิดนิวเครียร์ ลงมาหรือไม่
  • โคจรอยู่ในอวกาศรอบโลกอยู่นาน 92 วัน จึงตกลงสู่บรรยากาศของโลก เสียดสีกับบรรยากาศของโลก ลุกไหม้ไปก่อนที่จะตกลงถึงพื้นโลก
ส่วนประกอบ และโครงสร้างของดาวเทียมสปุตนิก 1



  • ผิวภายนอกเป็นโลหะผสม aluminum alloy
  • Ventilation Fan พัดลมระบายอากาศ
  • Power Supply แบตเตอร์รี่ แบบเงิน สังกะสี ( Silver zinc ) จำนวน 3 ลูก สามารป้อนพลังงานสำหรับ สปุตนิกได้ 22 วัน
  • Radio Transmitters เครื่องส่งสัญญาณวิทยุ ซึ่งประกอบไปด้วยเครื่องส่ง 2 ย่านความถี่ 20.005 และ 40.002 เมกะเฮิร์ต(MHz ) ที่จะส่งสัญญาณวิทยุ เป็นเสียงดัง " beep beep beep" ที่วิทยุสมัครเล่น (Ham radio ) จากทั่วโลกสามารถจับสัญญาณได้
ดาวเทียมสปุตนิก มีภาระกิจหลักอยู่ 5 ภาระกิจ คือ
1.           ทดสอบวิธีการระบุตำแหน่งของดาวเทียม สู่ สถานีที่พื้นโลกที่โคจรอยู่ตลอดเวลา
2.           การส่งข้อมูลข่าวสาร ผ่านชั้นบรรยากาศแบบปิด ตลอดระยะเวลาโคจร
3.           ทดสอบระบบการติดตาม สอดแนมโดยใช้ สัญญาณวิทยุ และ ภาพถ่าย
4.           หาผลผลลัพท์ และผลกระทบ เมื่อส่งคลื่นวิทยุผ่านชั้นบรรยากาศ
5.           ตรวจสอบทฤษฎี Pressurization ว่าความดันในอวกาศนั้นเป็นตามแนวคิดหรือทฤษฏี ที่คิดไว้หรือไม่




สปุตนิก 1 ถูกส่งขึ้นจากฐานปล่อยจรวดไบโคนูร์ คอสโมโดรม ที่เมืองเตียราตาม ในคาซักสถาน โดยใช้จรวด R-7 เป็นตัวขับเคลื่อนสู่วงโคจร






 






ข้อมูลอ้างอิง ดาวเทียม ดวงแรกของโลก ( Sputnik 1 )
  • http://en.wikipedia.org/wiki/Sputnik_1
  • http://space.about.com/od/sputnik/ig/Sputnik-1-Pictures-Gallery/Sputnik-1-Assembly.htm
  • http://www.nytimes.com/indexes/2007/09/25/science/index.html
  • http://museumvictoria.com.au/about/mv-news/2007/happy-birthday-sputnik/
  • http://www.nytimes.com/interactive/2007/09/24/science/space/20070924_SPUTNIK_GRAPHIC.html#tab2