ระบบกฎหมายของโลก มี 2 แบบ
1. Civil Law คือ ระบบประมวลกฎหมาย เป็นระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร ใช้ในประเทศต่าง ๆ ดังนี้ ได้แก่ ไทย เยอรมัน ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น เป็นต้น
2. Common Law หรือ ระบบเองโกลอเมริกันเป็น ระบบกฎหมายจารีตประเพณี หรือระบบกฎหมายที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ใช้ใประเทศต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ ได้แก่ อังกฤษ อเมริกา แคนาดา นิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย สิงคโปร์ มาเลเซีย เป็นต้น
ข้อแตกต่างระหว่างระบบ Civil Law และ ระบบ Common Law
1. ทัศนคติ ต่อกฎหมายลายลักษณ์อักษร
นักกฎหมาย Civil Law เห็นว่าเป็นระบบเหตุผลที่ถูกต้องและเป็นกฎหมายทั่วไป
นักกฎหมาย Common Law เห็นว่าเป็นกฎหมายที่ยกเว้นจากหลักทั่วไป (หลักทั่วไป คือ คำพิพากษาบรรทัดฐาน)
2. ทัศนคติ ต่อคำพิพากษา
ระบบ Civil Law เห็นว่าเป็นเพียงคำอธิบายในการใช้ตัวบทกฎหมายในการปรับใช้แก่คดีไม่ใช่บ่อเกิดแห่งกฎกมาย และไม่ใช้ตัวบทกฎหมาย ดังนั้น คำพิพากษาใหม่อาจจะตัดสินเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาเดิม โดยวางหลักเกณฑ์หรือให้เหตุผลเสียใหม่ได้
ระบบ Common Law เห็นว่าคำพิพากษาของศาลเป็นบ่อเกิดของกฎหมาย ดังนั้นคำพิพากษาต่อ ๆ มาในกรณีอย่างเดียวกันย่อมต้องตัดสินตามแนวคำพิพากษาก่อน ๆ นั้นเสมอ
3. ทัศนคติ ต่อขนบธรรมเนียม จารีตประเพณี และศีลธรรม
นักกฎหมาย Civil Law เห็นว่ากฎหมายลายลักษณ์อักษรเป็นกฎหมายที่อยู่เคียงคู่กับจารีตประเพณี และถือว่ากฎหมายเป็นสิ่งค้ำจุลศีลธรรมด้วย
นักกฎหมาย Common Law มีความโน้มเอียงที่จะเห็นว่าทั้งจารีตประเพณีและศีลธรรมเป็นคนละเรื่องกัน ไม่เกี่ยวกับกฎหมายลายลักษณ์อักษร
4. การใช้การตีความกฎหมายลายลักษณ์อักษร
ระบบ Civil Law นักกฎหมายอาจตีความกฎหมายโดยนัยต่าง ๆ ได้ โดยพิจารณาตามเหตุผลในบทกฎหมายนั้น ๆ
ระบบ Common Law กฎหมายลายลักษณ์อักษรที่ถูกตราขึ้นโดยรัฐสภานั้นเป็น "การตีความตามตัวอักษร" ซึ่งเป็นวิธีการตีความในระบบ Common Law โดยเฉพาะ และกฎหมายลายลักษณ์อักษรจะถูกนำมาใช้โดยวิธีการเทียบเคียง (Analogy) ไม่ได้
5. วิธีบัญญัติกฎหมายลายลักษณ์อักษร
ระบบ Civil Law โดยหลักนั้นจะบัญญัติกฎหมายที่มีลักษณะเป็นหลักเกณฑ์ทั่วไป (บททั่วไป) โดยจะใช้เทคนิคในการบัญญัติเพื่อให้ครอบคลุมในกรณีปัญหาและเปิดโอกาสให้ผู้ใช้กฎหมายมีดุลยพินิจในการใช้กฎหมายนั้นให้เหมาะสมกับความเป็นธรรมในแต่ละคดี แต่ในบางบทมาตราหากไม่วางหลักเกณฑ์ทั่วไปได้อย่างสมบูรณ์ ก็จะบััญญติเป็นรายละเอียด
ระบบ Common Law วิธีการบัญญัตินั้นต้องเขียนให้แน่นอนชัดเจนและละเอียด ดังนั้น สำหรับผู้ที่คุ้นเคยกับตัวบทในประมวลกฎหมาย เมื่ออ่านกฎหมายลายลักษณ์อักษรของประเทศในระบบ Common Law จึงรู้สึกว่ากฎหมายเขียนละเอียดมากจนเกินความจำเป็น มีลักษณืคล้ายสัญญามากกว่าที่จะเป็นตัวบทกฎหมาย ทั้งนี้เพื่อผูกมัดให้ผู้ตีความได้ใช้กฎหมายตามที่ฝ่ายนิติบัญญัติต้องการ
ขอบคุณที่มา : http://easylawbyarisara.blogspot.com/2013/08/civil-law-common-law-civil-law-common.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น