แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ สิ่งมีชีวิตสิ่งแรกที่ถูกส่งขึ้นไปอยู่ในอวกาศ แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ สิ่งมีชีวิตสิ่งแรกที่ถูกส่งขึ้นไปอยู่ในอวกาศ แสดงบทความทั้งหมด

วันจันทร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

สิ่งมีชีวิตสิ่งแรกของโลกที่ถูกส่งขึ้นไปโคจรอยู่ในอวกาศ



สิ่งมีชีวิตสิ่งแรกของโลกคือ สุนัขที่ชื่อว่าไลก้า (Laika)  




ถูกส่งขึ้นไปโคจรอยู่ในอวกาศกับดาวเทียม สปุตนิค 2 ซึ่งสปุตนิค 2 เป็นดาวเทียมขนาดใหญ่ มีน้ำหนักประมาณ 500 กิโลกรัม ถูกส่งขึ้นสู่อวกาศ ในวันที่ 3 เดือนพฤศจิกายน ค.ศ.1957 และได้นำสุนัขไลก้าขึ้นไปท่องอวกาศรอบโลกด้วยและเป็นตัวแรกที่ตายในวงโคจรด้วยเช่นกัน
เนื่องจากเป็นที่ทราบกันน้อยมากถึงผลกระทบของการบินอวกาศที่มีต่อสิ่งมี ชีวิตในขณะภารกิจของไลก้านั้น และเทคโนโลยีในการผละออกจากวงโคจรยังไม่ถูกพัฒนา จึงไม่มีการคาดว่าไลก้าจะรอดชีวิต นักวิทยาศาสตร์บางคนเชื่อว่ามนุษย์จะไม่อาจมีชีวิตอยู่ได้จากการปล่อยหรือ สภาพของอวกาศ ดังนั้น วิศวกรจึงมองว่าเที่ยวบินที่ส่งสัตว์ขึ้นสู่อวกาศด้วยนั้นจำเป็นก่อนภารกิจ ของมนุษย์ไลก้าที่เป็นสุนัขเร่รอนเดิมชื่อ คุดร์ยัฟกา เข้าสู่การฝึกกับสุนัขอื่นอีกสองตัว และได้รับเลือกเป็นผู้โดยสารไปกับยานอวกาศโซเวียต สปุตนิก 2 ในท้ายที่สุด ซึ่งถูกส่งขึ้นสู่อวกาศเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน ค.ศ. 1957
คาดว่าไลก้าน่าจะตายภายในไม่กี่ชั่วโมงหลังปล่อยยานจากความร้อนเกิน ซึ่งเป็นไปได้ว่าเกิดจากความล้มเหลวของระบบยังชีพกลางอาร์-7 (R-7 sustainer) ในการแยกจากน้ำหนักบรรทุก สาเหตุและเวลาการตายที่แท้จริงของมันนั้นไม่ได้รับการเปิดเผยต่อสาธารณะ กระทั่ง ค.ศ. 2002 แต่ก่อนหน้านั้นได้รายงานอย่างกว้างขวางว่ามันตายเพราะขาดออกซิเจนในวันที่หก หรือตามที่รัฐบาลโซเวียตอ้างแต่แรก มันตายสบาย (euthanized) ก่อนออกซิเจนพร่องไปอีก อย่างไรก็ดี การทดลองพิสูจน์ว่าไลก้าสามารถรอดชีวิตจากการปล่อยยานขึ้นสู่วงโคจรและทนต่อสภาวะไร้น้ำหนัก ซึ่งเป็นการกรุยทางแก่การบินอวกาศมนุษย์และให้ข้อมูลแรก ๆ บางส่วนแก่นักวิทยาศาสตร์ว่า สิ่งมีชีวิตตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมในการบินอวกาศอย่างไร









ที่มา https://th.wikipedia.org