แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ความรู้รอบตัว แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ความรู้รอบตัว แสดงบทความทั้งหมด

วันศุกร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2559

ภาษาอังกฤษกับภาษาอื่น ๆ ในตระกูล Indo - European


ภาษากลุ่มใหญ่ ๆ ของกลุ่มอินโดยูโรเปียนมีทั้งหมด 10 กลุ่มได้แก่
1. Indian
2. Indo - Iranian
3. Amenian
4. Hellenic
5. Albanian
6. Italic
7. Blto - Slovic
8. Germanic
9. Celtic
10. Hittie and Tocharian


วันพฤหัสบดีที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2559

ภาษาคืออะไร


ภาษาคือ สัญญาณที่มีโครงสร้างเป็นระบบ สัญญาณที่ว่าอาจมาในรูปแบบของเสียงเรียกว่า “ภาษาพูด” หรือ อาจมาในรูปของการเขียนสัญลักษณ์เรียกว่า “ภาษาเขียน”


วันศุกร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2559

ระบบกฎหมายของโลก มี 2 แบบ

ระบบกฎหมายของโลก มี 2 แบบ

1. Civil Law คือ ระบบประมวลกฎหมาย เป็นระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร ใช้ในประเทศต่าง ๆ ดังนี้ ได้แก่ ไทย เยอรมัน ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น เป็นต้น

2. Common Law หรือ ระบบเองโกลอเมริกันเป็น ระบบกฎหมายจารีตประเพณี หรือระบบกฎหมายที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ใช้ใประเทศต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ ได้แก่ อังกฤษ อเมริกา แคนาดา นิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย สิงคโปร์ มาเลเซีย เป็นต้น
















ข้อแตกต่างระหว่างระบบ Civil Law และ ระบบ Common Law 

1. ทัศนคติ ต่อกฎหมายลายลักษณ์อักษร นักกฎหมาย Civil Law เห็นว่าเป็นระบบเหตุผลที่ถูกต้องและเป็นกฎหมายทั่วไป นักกฎหมาย Common Law เห็นว่าเป็นกฎหมายที่ยกเว้นจากหลักทั่วไป (หลักทั่วไป คือ คำพิพากษาบรรทัดฐาน)

2. ทัศนคติ ต่อคำพิพากษา ระบบ Civil Law เห็นว่าเป็นเพียงคำอธิบายในการใช้ตัวบทกฎหมายในการปรับใช้แก่คดีไม่ใช่บ่อเกิดแห่งกฎกมาย และไม่ใช้ตัวบทกฎหมาย ดังนั้น คำพิพากษาใหม่อาจจะตัดสินเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาเดิม โดยวางหลักเกณฑ์หรือให้เหตุผลเสียใหม่ได้ ระบบ Common Law เห็นว่าคำพิพากษาของศาลเป็นบ่อเกิดของกฎหมาย ดังนั้นคำพิพากษาต่อ ๆ มาในกรณีอย่างเดียวกันย่อมต้องตัดสินตามแนวคำพิพากษาก่อน ๆ นั้นเสมอ

3. ทัศนคติ ต่อขนบธรรมเนียม จารีตประเพณี และศีลธรรม นักกฎหมาย Civil Law เห็นว่ากฎหมายลายลักษณ์อักษรเป็นกฎหมายที่อยู่เคียงคู่กับจารีตประเพณี และถือว่ากฎหมายเป็นสิ่งค้ำจุลศีลธรรมด้วย นักกฎหมาย Common Law มีความโน้มเอียงที่จะเห็นว่าทั้งจารีตประเพณีและศีลธรรมเป็นคนละเรื่องกัน ไม่เกี่ยวกับกฎหมายลายลักษณ์อักษร

 4. การใช้การตีความกฎหมายลายลักษณ์อักษร ระบบ Civil Law นักกฎหมายอาจตีความกฎหมายโดยนัยต่าง ๆ ได้ โดยพิจารณาตามเหตุผลในบทกฎหมายนั้น ๆ ระบบ Common Law กฎหมายลายลักษณ์อักษรที่ถูกตราขึ้นโดยรัฐสภานั้นเป็น "การตีความตามตัวอักษร" ซึ่งเป็นวิธีการตีความในระบบ Common Law โดยเฉพาะ และกฎหมายลายลักษณ์อักษรจะถูกนำมาใช้โดยวิธีการเทียบเคียง (Analogy) ไม่ได้

5. วิธีบัญญัติกฎหมายลายลักษณ์อักษร ระบบ Civil Law โดยหลักนั้นจะบัญญัติกฎหมายที่มีลักษณะเป็นหลักเกณฑ์ทั่วไป (บททั่วไป) โดยจะใช้เทคนิคในการบัญญัติเพื่อให้ครอบคลุมในกรณีปัญหาและเปิดโอกาสให้ผู้ใช้กฎหมายมีดุลยพินิจในการใช้กฎหมายนั้นให้เหมาะสมกับความเป็นธรรมในแต่ละคดี แต่ในบางบทมาตราหากไม่วางหลักเกณฑ์ทั่วไปได้อย่างสมบูรณ์ ก็จะบััญญติเป็นรายละเอียด ระบบ Common Law วิธีการบัญญัตินั้นต้องเขียนให้แน่นอนชัดเจนและละเอียด ดังนั้น สำหรับผู้ที่คุ้นเคยกับตัวบทในประมวลกฎหมาย เมื่ออ่านกฎหมายลายลักษณ์อักษรของประเทศในระบบ Common Law จึงรู้สึกว่ากฎหมายเขียนละเอียดมากจนเกินความจำเป็น มีลักษณืคล้ายสัญญามากกว่าที่จะเป็นตัวบทกฎหมาย ทั้งนี้เพื่อผูกมัดให้ผู้ตีความได้ใช้กฎหมายตามที่ฝ่ายนิติบัญญัติต้องการ













 ขอบคุณที่มา : http://easylawbyarisara.blogspot.com/2013/08/civil-law-common-law-civil-law-common.html






บิดาแห่งวิชาเศรษฐศาสตร์ คือ อดัม สมิธ(Adam Smith)

อดัม สมิธ (อังกฤษ: Adam Smith)
   
    นักปรัชญาศีลธรรม และ นักเศรษฐศาสตร์การเมืองผู้บุกเบิกชาวสกอตแลนด์ อดัม สมิธ เป็นผู้มีส่วนสำคัญในการกำหนดแนวคิดเศรษฐศาสตร์แนวตลาดเสรี เป็นบุคคลสำคัญในขบวนการที่เป็นที่รู้จักในชื่อว่า "ยุคสว่างของสกอตแลนด์" (Scottish Enlightenment)

    แนวคิดทางปรัชญาการเมืองและสังคมของ อดัม สมิธ เป็นพื้นฐานและประยุกต์เข้ากับแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ในแง่ของการส่งเสริมการแข่งขันเสรี การแบ่งงานกันทำก่อให้เกิดความมั่งคั่งของประเทศ การค้าระหว่างประเทศ ซึ่งการแบ่งงานกันทำระหว่างประเทศ จำทำให้สวัสดิการทางเศรษฐกิจของโลกดีขึ้น ถ้ามีการแข่งขันอย่างเสรมูลค่าของสิ่งของจะเท่ากัน ต้นทุนการผลิตและปัจจัยการผลิตจะได้รับผลตอบแทนเท่ากันในทุกอาชีพ แนวคิดของ อดัม สมิธ ยังคงมีอิทธิพลอยู่แม้ในปัจจุบัน เช่น แนวคิดเรื่องความมั่งคั่งของประเทศ การแข่งขันเสรี และการคลัง


ประวัติศาสตร์บุคคลสำคัญของไทย

ร.1 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช

1. สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี
2. เกิดสงคราม 9 ทัพ
3. เกิดกฎหมายตรา 3 ดวง

ร. 2 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศล้านภาลัย


1. เป็นยุคทองของวรรณกรรม

ร.3 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

1. สนธิสัญญาเบอร์นีย์ w/Eng

ร.4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

1.  สนธิสัญญาเบาว์ริง
2. สวมเสื้อผ้าเข้าเฝ้า
3.ใช้เหรียญกษาปณ์
4.พระราชพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา

ร.5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

1. ยกเลิกจตุสดมภ์
2. ตั้งธนาคารแห่งแรก (สยามกัมมาจล)
3. ผลิตธนบัตร
4. เลิกทาส

ร.6 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

1. ตั้งดุสิตธานี

ร.7 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

1.เกิดปัญหาเศรษฐกิจ
2. เปลี่ยนแปลงการปกครอง



วันพุธที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2559

รายได้ทางเศรษฐศาสตร์

รายได้ทางเศรษฐศาสตร์ แบ่งเป็น 4 ประเภท 

ได้แก่

1. ค่าเช่า คือ ผลตอบแทนสำหรับเจ้าของที่ดิน
2. ค่าจ้าง คือ ผลตอบแทนสำหรับเจ้าของแรงงาน
3. ดอกเบี้ย คือ ผลตอบแทนสำหรับเจ้าของทุน
4. กำไร คือ ผลตอบแทนสำหรับผู้ประกอบการ

ศาสนาพราหมร์ - ฮินดู

ศาสนาพราหมร์ - ฮินดู

มีการแบ่งชนชั้นวรรณะ เรียงจากสูงไปต่ำดังนี้

1. พราหมณ์ - สั่งสอนผู้คนให้มีความรู้

    เกิดจากโอษฐ์ของพระพรหม มีสีเครื่องแต่งกายประจำวรรณะ คือ สีขาว ซึ่งแสดงถึงความบริสุทธิ์มีหน้าที่กล่าวมนต์ ให้คำปรึกษากับพระเจ้าแผ่นดิน ตลอดจนสอนมนต์ให้แก่คนทั่วไป ส่วนพวกที่เป็นนักบวชก็ทำหน้าที่สอนไตรเภทและประกอบพิธีทางศาสนา

2. กษัตริย์ - ปกครองบ้านเมือง

   เกิดจากพระอุระของพระพรหม และถือว่าสืบเชื้อสายมาจากพระอาทิตย์ สีเครื่องแต่งกายประจำวรรณะ คือ สีแดง ซึ่งหมายถึงนักรบ ทำหน้าที่รบเพื่อป้องกันหรือ ขยายอาณาจักร รวมทั้งเป็นนักปกครอง เป็นพระเจ้าแผ่นดินหรือคณะผู้ปกครองแบบสามัคคีธรรม

3. ไวศยะ (แพศย์) - ค้าขาย

   เกิดจากพระเพลา (ตัก) ของพระพรหม มีสีเครื่องแต่งกายประจำวรรณะ คือ สีเหลือง เป็นพวกแสวงหาทรัพย์สมบัติ ได้แก่พวกพ่อค้า คหบดี เศรษฐี และเกษตรกร

4. ศูทร - แรงงาน

  เกิดจากพระบาท (เท้า) ของพระพรหม มีสีเครื่องแต่งกายประจำวรรณะ คือ สีดำหรือสี อื่น ๆ ที่ไม่มีความสดใส มีหน้าที่เป็นกรรมกร ลูกจ้าง

5. จัณฑาล - แต่งงานข้ามวรรณะ

   จัณฑาล เป็นอีกวรรณะหนึ่งซึ่งถือว่าเป็นพวกต่ำสุด คือ จัณฑาล ลูกที่เกิดจากพ่อแม่ต่างวรรณะกัน ถือเป็นพวกจัณฑาล ซึ่งจะถูกรังเกียจและเหยียดหยาม ไม่มีคนในวรรณะอื่นคบหาสมาคมด้วย การถือวรรณะอย่างรุนแรงเช่นนี้ เป็นพื้นฐานอันสำคัญอย่างหนึ่งของสังคมอินเดียทั้งก่อนพุทธกาลและในสมัยพุทธกาล    


* การแต่งงานที่สามีภรรยาอยู่ในวรรณะเดียวกันลูกจะอยู่ในวรรณะเดียวกับพ่อแม่

** ถ้าแต่งงานข้ามวรรณะ ถือเป็นพวกจัณฑาล คือพวกไม่มีวรรณะ จะถูกสังคมรังเกียจและเหยียดหยามมาก



ชื่อเรียกของเงิน

ชื่อเรียกของเงิน เปลี่ยนไปตามสถานะ เช่่น

1.ให้โรงเรียน เรียกว่า แป๊ะเจี๊ยะ
2. แต่งงาน เรียกว่า สินสอด
3. หย่า เรียกว่า สินสมรส
4. ยืม เรียกว่า หนี้สิน
5. ให้รัฐบาล เรียกว่า ภาษี
6. ในศาลเรียกว่า ค่าปรับ
7. เกษียณ เรียกว่า บำนาญ
8. ให้ไปทำงานเรียกว่า เบี้ยเลี้ยง
9. ตอบแทนค่าบริการ เรียกว่า ทิป
10. ในการลักพาตัว เรียกว่า ค่าไถ่
11. จ่ายค่าบริการที่ผิดกฎหมาย เรียกว่า ส่วย