สิ่งประดิษฐ์ทั้ง 4 ของจีน
หรือที่เรียกว่า “จตุรประดิษฐ์” ปรากฏขึ้นจริงในประวัติศาสตร์
แสดงถึงความก้าวหน้าและความสำเร็จด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของจีนในอดีตได้ดีที่สุด
อันประกอบไปด้วย
ภาพวาดเข็มทิศที่ใช้บนเรือสมัยราชวงศ์หมิง |
เข็มทิศ
ใน ยุคจ้านกั๋ว
ชาวจีนได้ประดิษฐ์คิดค้นเครื่องมือที่มีลักษณะเป็นหินแม่เหล็ก นำมาประยุกต์ใช้กับเครื่องมือในการบอกทิศทางที่เรียกว่า
“ซือหนาน” มีลักษณะเป็นช้อนแม่เหล็กตั้งอยู่บนฐานสลักตัวอักษรบอกทิศทาง
ซึ่งคันช้อนชี้ไปทางทิศใต้และปลายอีกด้านหนึ่งชี้ไปทางทิศเหนือ ครั้นถึงสมัยราชวงศ์ซ่งมีการนำแผ่นเหล็กและฐานสลักตัวอักษรบอกทิศทางมารวม
กัน เรียกว่า “หลัวผาน” ประเทศจีนจึงเป็นชาติแรกของโลกที่ประดิษฐ์เข็มทิศขึ้น
เข็มทิศนี้ถูกนำไปใช้ในการเดินเรือในช่วงปลายศตวรรษที่ 11 ภายหลังจากการใช้เข็มทิศอย่างแพร่หลายจึงมีการพัฒนาปรับปรุงรูปลักษณ์ของ
เข็มทิศให้สะดวกต่อการใช้งานมากยิ่งขึ้น
ปืนใหญ่สำหรับถือด้วยมือ ถ่ายจากพิพิธภัณซ่านซี่ มลฑลซีอาน ทำจากสำริด สมัยราชวงศ์หยวน ค.ศ.1271 - ค.ศ. 1368 |
ดินปืน
ส่วนประกอบสำคัญ ของดินปืน ได้แก่
ดินประสิวหรือโพแทสเซียมไนเตรท กำมะถัน และผงถ่านรวมเข้าด้วยกัน เบื้องต้นการคิดค้นดินปืนมีความเกี่ยวข้องกับการกลั่นยาอายุวัฒนะในสมัย
โบราณ กล่าวคือนักปรุงยาได้นำแร่ธาตุและพันธุ์พืชมากมายมาผสมและใส่ลงไปในเตาต้ม รวมกัน
ทว่าการปรุงยาอายุวัฒนะนั้นเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ ในขณะกลั่นยาเตาเกิดระเบิดขึ้น
นักปรุงยาจึงพบธาตุที่เป็นชนวนระเบิดได้จากการเผาไหม้นั้นโดยบังเอิญ เป็นเหตุให้ดินปืนถูกประดิษฐ์ขึ้นและนำไปใช้ในงานด้านการทหาร
โดยดินปืนนี้คิดค้นได้สำเร็จในสมัยราชวงศ์ถังตอนปลาย
กระดาษที่ทำจากพืชตะกูลป่าน มักใช้สำหรับห่อของไม่นิยมใช้เขียน ถูกจัดแสดงในพิพิธภัณส่านซี เมืองซีอาน มณฑลส่านซี ถูกขุดค้นพบจากสุสานจักรพรรดิฮั่นอู่ตี้ สมัยราชวงศ์ฮั่น (140 ก่อนคริสตกาล-87 ก่อนคริสตกาล) |
กระดาษ
ชาวจีนสมัยโบราณ ใช้วิธีเขียนหนังสือลงบนแผ่นไม้ไผ่
กระดองเต่า และกระดูกสัตว์ แต่ทั้งหมดนี้มีน้ำหนักมาก พกพาไม่สะดวก สมัยราชวงศ์ฉินและราชวงศ์ฮั่นเริ่มมีความเห็นว่าการเขียนลงบนผ้าไหมดีกว่า
การเขียนลงบนแผ่นไม้มาก แต่ผ้าไหมก็เป็นสินค้าที่มีราคาแพงเกินไป กระทั่งสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันออก
ขุนนางผู้หนึ่งนามว่า ไช่หลุน (蔡伦) เป็นผู้ค้นพบวิธีผลิตกระดาษ
โดยนำเปลือกไม้ เศษผ้า และตาข่ายดักปลามาบดผสมกันจนป่น
จากนั้นก็นำมาตากแห้งจนกลายเป็นแผ่น กระดาษชนิดนี้จึงมีชื่อว่า “กระดาษไช่หลุน” นับเป็นการประดิษฐ์ของชาวจีนที่นำความภาคภูมิใจนี้ส่งต่อไปยังทั่วโลก
พระสุภูติกราบทูลอาราธนาพระโคตมพุทธเจ้าแสดงวัชรปรัชญาปารมิตาสูตร ภาพจากม้วนหนังสือวัชรปรัชญาปารมิตาสูตรที่พบในถ้ำตุ้นหวง ประเทศจีน |
แท่นพิมพ์
ก่อน การคิดค้นแท่นพิมพ์สำเร็จมักใช้วิธีคัดลอกตาม
ดังนั้นกว่าจะได้หนังสือสักเล่มย่อมไม่ใช่เรื่องง่าย ต่อมาผู้คนเริ่มใช้วิธีพิมพ์โดยวางกระดาษทาบลงบนศิลาจารึก
สมัยราชวงศ์ถังมีการคิดค้นแม่พิมพ์สลักขึ้น โดยการแกะตัวอักษรลงบนแผ่นไม้ ใช้หมึกทาแล้วเอากระดาษทาบ
สมัยราชวงศ์ซ่งเหนือ ปี้เซิงคือผู้ที่คิดค้นตัวเรียงพิมพ์ขึ้น เขาใช้วิธีแกะสลักตัวอักษรแต่ละตัวลงบนดินเหนียวทีละก้อนก่อนนำไปเผาไฟให้
แข็ง ตอนพิมพ์ให้เรียงตัวอักษรที่ต้องการ ทาหมึกลงไปแล้ววางกระดาษทาบลง ตัวอักษรที่แกะสลักเหล่านี้ยังนำไปใช้ซ้ำได้อีกด้วย
วิธีการพิมพ์ของปี้เซิงเป็นต้นแบบของการพิมพ์ที่ใช้ตะกั่วในยุคหลัง
ที่มา : https://th.wikipedia.org
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น