สิ่งมีชีวิตบนโลกประกอบด้วยธาตุหลัก 4 ธาตุ คือ
ไฮโดรเจน (H)
ออกซิเจน (O)
ไนโตรเจน (N)
คาร์บอน (C)
ซึ่งเป็นธาตุเบาที่มีอยู่ทั่วไปบนโลกและในจักรวาล นอกจากนั้นเซลล์ยังใช้
ฟอสฟอรัส(P) และ กำมะถัน (S) ในการสร้างวัสดุโครงสร้างของเซลล์ และกระบวนการเผาผลาญอาหาร เพื่อสร้างพลังงาน ธาตุทั้งหกนี้พบทั่วไปในสารอินทรีย์ของเซลล์ โดยประกอบกันเป็นโมเลกุล ดังนี้
น้ำ เป็นองค์ประกอบหลักของเซลล์ มีอยู่ประมาณร้อยละ 70 ของน้ำหนักเซลล์ทั้งหมด
ไขมัน (Lipids) มีโครงสร้างเป็นไฮโดรคาร์บอน ไม่ละลายน้ำ เป็นองค์ประกอบหลักของ เนื้อเยื้อต่างๆ และมีหน้าที่เก็บสะสมพลังงานเคมี
คาร์โบไฮเดรต (Carbohydrate) มีโครงสร้างเป็นไฮโดรคาร์บอนเช่นเดียวกับไขมัน แต่มีกลุ่มไฮดรอกซิล (-OH) ซึ่งมีคุณสมบัติในการละลายน้ำ ประกอบด้วยวงแหวนโมเลกุล ของน้ำตาล ซึ่งเมื่อแตกตัวแล้วให้พลังงานออกมา
โปรตีน (Protein) เป็นโมเลกุลที่มีความสลับซับซ้อนมากที่สุด ประกอบขึ้นด้วยกรดอะมิโน (Amino acid) หลายชนิดเรียงต่อกันเป็นสายยาวสลับซับซ้อน คอยทำหน้าที่ต่างๆ ภายในเซลล์ นับตั้งแต่ควบคุมปฏิกิริยาเคมีไปจนถึงเป็นโครงสร้างของร่างกาย ได้แก่ โปรตีนโครงสร้าง เช่น ขน เล็บ เอ็น; โปรตีนขนส่ง เช่น เฮโมโกลบิน ในเม็ดเลือด; โปรตีนภูมิคุ้มกัน เช่น แอนติบอดี; โปรตีนเร่งปฏิกิริยา เช่น เอนไซม์ เป็นต้น (สิ่งชีวิตสร้างโปรตีนมากมายหลายพันชนิด ขึ้นจากกรดอะมิโนเพียง 20 ชนิด)
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ สาระโอเน็ตวิทย์ แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ สาระโอเน็ตวิทย์ แสดงบทความทั้งหมด
วันจันทร์ที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2559
ที่มา ซอสมะเขือเทศ Ketchup
รากศัพท์ของ "ซอสมะเขือเทศ"
Ketchup เป็นคำศัพท์ที่มีต้นกำเนิดมาจากภาษาจีน เพราะคำว่า Ketchup ที่แปลว่า ซอสมะเขือเทศ หรือน้ำซอสชนิดเข้มข้นนั้น เดิมทีมาจากภาษาจีนฮกเกี่ยนว่า "คีเซียบ(ke-tsiap)" หมายถึง น้ำหมักปลา ปรุงรสด้วยเครื่องเทศ และสมุนไพร ซึ่งนับเป็นเครื่องเคียงปรุงรสอาหารที่นิยมมากในประเทศจีน และแพร่หลายมายังยุโรปโดยนักเดินเรือทะเล
ต่อมาชาวอังกฤษได้นำเครื่องปรุงชนิดนี้ไปดัดแปลงนำมาผสมกับวัตถุดิบที่หาได้ในท้องถิ่น อาทิ เห็ด วอลนัท หรือหอยนางรม แล้วมีการเรียกเพี้ยนไปเรื่อยๆ จาก Catchup เป็น Ketchup ในที่สุด
และยังมีส่วนผสมของอาหารอื่นๆ อีกมากมายที่เมื่อย้อนกลับไปดูแล้วต่างมีที่มาจากประเทศจีน เช่น แผ่นทอร์ทิลล่า และพาสต้า
วันพฤหัสบดีที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2559
การสืบพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต
การสืบพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต
1. การแตกหน่อ (Budding)
เป็นการสืบพันธุ์ของสัตว์ชั้นต่ำ โดยเมื่อเจริญเติบโตเต็มที่แล้วจะมีการสร้างเนื้อเยื่อข้างลำตัวงอกออกมา แล้วเจริญเติบโตเป็นตัวเล็ก ๆ ที่มีอวัยวะต่าง ๆ เหมือนตัวแม่ หลังจากติดอยู่กับตัวแม่ระยะหนึ่งก็จะหลุดออกมาไปอยู่อิสระตามลำพัง สัตว์ที่มีการสืบพันธุ์ลักษณะนี้ได้แก่
ไฮดรา หนอนตัวแบน ฟองน้ำ ปะการัง และสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว (พวกโพรติสต์) เช่น ยีสต์ ไฮดราฟองน้ำ ในพืชชั้นสูงก็มีพวก ขิง ข่า กล้วย หน่อไม้ เป็นต้น –
โพรติสต์ หมายถึง สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวหรือหลายเซลล์ที่ไม่อาจจัดเป็นพืชหรือสัตว์ได้อย่างชัดเจน เช่น เห็ด รา ยีสต์ โปรโตซัว ไวรัส สาหร่ายสีเขียว สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน เป็นต้น –ไฮดรา (Hydra) เป็นสัตว์ชั้นต่ำประกอบด้วยเซลล์หลายเซลล์ มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ลำตัวคล้ายเส้นด้าย มีขนาดประมาณ 0.5 – 1 มิลลิเมตร ยาวประมาณ 0.5 – 1 เซนติเมตร มีหนวดเป็นเส้นยาว 4 – 12 เส้นลำตัวสีขาวขุ่น แต่บางชนิดมีสีเขียว ซึ่งเกิดจากสาหร่ายสีเขียวที่อาศัยอยู่ในตัวไฮดรา จึงทำให้สามารถสังเคราะห์แสงได้ อาหารของไฮดรา คือ ไรน้ำและตัวอ่อนของแมลงในน้ำ
ไฮดราสามารถสืบพันธุ์ได้ทั้งแบบไม่อาศัยเพศและแบบอาศัยเพศ ดังนี้
การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศของไฮดรา เมื่อไฮดราเจริญเติบโตเต็มวัย จะมีการสร้างเนื้อเยื่อข้างลำตัวงอกออกมา แล้วเจริญเติบโตเป็นไฮดราตัวเล็ก ๆ หลังจากนั้นก็จะหลุดออกไปอยู่ตามลำพังได้เอง การสืบพันธุ์แบบนี้ เรียกว่า การแตกหน่อ (Budding)
การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศของไฮดรา ไฮดรามีการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศได้ แต่เกิดขึ้นไม่บ่อยนัก ซึ่งจะเกิดขึ้นในกรณีที่อาหารไม่สมบูรณ์ ไฮดราจะมี 2 เพศอยู่ในตัวเดียวกัน โดยมีรังไข่อยู่ข้างลำตัว ลักษณะเป็นปุ่มใหญ่เหนือรังไข่บริเวณใกล้ ๆ หนวด (Tentacle) จะมีอัณฑะเป็นปุ่มเล็ก ๆ รังไข่จะผลิตเซลล์ไข่ และอัณฑะจะผลิตเซลล์อสุจิ โดยปกติไข่และตัวอสุจิจะเติบโตไม่พร้อมกัน จึงต้องผสมกับตัวอื่น ตัวอสุจิจากไฮดราตัวหนึ่งจะว่ายน้ำไปผสมกับไข่ที่สุกในรังไข่ของไฮดราตัวอื่นไข่ที่ผสมแล้วจะเป็นไซโกตซึ่งจะเจริญเติบโตอยู่กับตัวแม่ระยะหนึ่งจึงจะหลุดออกไปจากตัวแม่ แล้วเจริญเป็นไฮดราตัวใหม่ต่อไป
2. การแบ่ง ตัวออกเป็นสอง (Binary Fission) เกิดขึ้นกับสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว (พวกโพรติสต์) ได้แก่ อะมีบา พารามีเซียม ยูกลีนา และแบคทีเรีย การสืบพันธุ์วิธีนี้เกิดขึ้นโดยการแบ่งตัวจาก 1 เซลล์เป็น 2 เซลล์ โดยนิวเคลียสของเซลล์จะแบ่งตัวก่อน แล้วไซโทพลาซึมจะแบ่งตามได้เป็นตัวใหม่ 2 ตัว ซึ่งแต่ละตัวจะมีลักษณะเหมือนตัวเดิมทุกประการ เช่น การแบ่งตัวของอะมีบา
3.การงอกใหม่ (Regeneration) พบในสัตว์ชั้นต่ำ ได้แก่ ปลาดาว พลานาเรีย ไส้เดือนดิน ปลิง ซีแอนนีโมนี การงอกใหม่เป็นการสร้างส่วนของร่างกายที่ขาดหายไป โดยสัตว์เหล่านี้ถ้าร่างกายถูกตัดออกเป็นส่วน ๆ แต่ละส่วนจะสามารถงอกเป็นสิ่งมีชีวิตตัวใหม่ได้ ดังนั้นการงอกใหม่นี้จึงทำให้มีจำนวนสิ่งมีชีวิตเพิ่มขึ้นจากจำนวนเดิม
4.การสร้างสปอร์ (Spore Formation) เป็นการสืบพันธุ์ที่เกิดจากการแบ่งนิวเคลียสหลาย ๆ ครั้ง ต่อจากนั้นไซโทพลาซึมจะแบ่งตาม แล้วจะมีการสร้างเยื่อกั้นเป็นส่วน ๆ แต่ละส่วนจะมีนิวเคลียส 1 อัน เรียกว่า สปอร์ (Spore) สัตว์ที่มีการสืบพันธุ์แบบนี้ ได้แก่ พลาสโมเดียม ซึ่งเป็นสัตว์ที่ทำให้เกิดโรคไข้มาลาเรีย
1. การแตกหน่อ (Budding)
เป็นการสืบพันธุ์ของสัตว์ชั้นต่ำ โดยเมื่อเจริญเติบโตเต็มที่แล้วจะมีการสร้างเนื้อเยื่อข้างลำตัวงอกออกมา แล้วเจริญเติบโตเป็นตัวเล็ก ๆ ที่มีอวัยวะต่าง ๆ เหมือนตัวแม่ หลังจากติดอยู่กับตัวแม่ระยะหนึ่งก็จะหลุดออกมาไปอยู่อิสระตามลำพัง สัตว์ที่มีการสืบพันธุ์ลักษณะนี้ได้แก่
ไฮดรา หนอนตัวแบน ฟองน้ำ ปะการัง และสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว (พวกโพรติสต์) เช่น ยีสต์ ไฮดราฟองน้ำ ในพืชชั้นสูงก็มีพวก ขิง ข่า กล้วย หน่อไม้ เป็นต้น –
โพรติสต์ หมายถึง สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวหรือหลายเซลล์ที่ไม่อาจจัดเป็นพืชหรือสัตว์ได้อย่างชัดเจน เช่น เห็ด รา ยีสต์ โปรโตซัว ไวรัส สาหร่ายสีเขียว สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน เป็นต้น –ไฮดรา (Hydra) เป็นสัตว์ชั้นต่ำประกอบด้วยเซลล์หลายเซลล์ มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ลำตัวคล้ายเส้นด้าย มีขนาดประมาณ 0.5 – 1 มิลลิเมตร ยาวประมาณ 0.5 – 1 เซนติเมตร มีหนวดเป็นเส้นยาว 4 – 12 เส้นลำตัวสีขาวขุ่น แต่บางชนิดมีสีเขียว ซึ่งเกิดจากสาหร่ายสีเขียวที่อาศัยอยู่ในตัวไฮดรา จึงทำให้สามารถสังเคราะห์แสงได้ อาหารของไฮดรา คือ ไรน้ำและตัวอ่อนของแมลงในน้ำ
ไฮดราสามารถสืบพันธุ์ได้ทั้งแบบไม่อาศัยเพศและแบบอาศัยเพศ ดังนี้
การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศของไฮดรา เมื่อไฮดราเจริญเติบโตเต็มวัย จะมีการสร้างเนื้อเยื่อข้างลำตัวงอกออกมา แล้วเจริญเติบโตเป็นไฮดราตัวเล็ก ๆ หลังจากนั้นก็จะหลุดออกไปอยู่ตามลำพังได้เอง การสืบพันธุ์แบบนี้ เรียกว่า การแตกหน่อ (Budding)
การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศของไฮดรา ไฮดรามีการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศได้ แต่เกิดขึ้นไม่บ่อยนัก ซึ่งจะเกิดขึ้นในกรณีที่อาหารไม่สมบูรณ์ ไฮดราจะมี 2 เพศอยู่ในตัวเดียวกัน โดยมีรังไข่อยู่ข้างลำตัว ลักษณะเป็นปุ่มใหญ่เหนือรังไข่บริเวณใกล้ ๆ หนวด (Tentacle) จะมีอัณฑะเป็นปุ่มเล็ก ๆ รังไข่จะผลิตเซลล์ไข่ และอัณฑะจะผลิตเซลล์อสุจิ โดยปกติไข่และตัวอสุจิจะเติบโตไม่พร้อมกัน จึงต้องผสมกับตัวอื่น ตัวอสุจิจากไฮดราตัวหนึ่งจะว่ายน้ำไปผสมกับไข่ที่สุกในรังไข่ของไฮดราตัวอื่นไข่ที่ผสมแล้วจะเป็นไซโกตซึ่งจะเจริญเติบโตอยู่กับตัวแม่ระยะหนึ่งจึงจะหลุดออกไปจากตัวแม่ แล้วเจริญเป็นไฮดราตัวใหม่ต่อไป
2. การแบ่ง ตัวออกเป็นสอง (Binary Fission) เกิดขึ้นกับสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว (พวกโพรติสต์) ได้แก่ อะมีบา พารามีเซียม ยูกลีนา และแบคทีเรีย การสืบพันธุ์วิธีนี้เกิดขึ้นโดยการแบ่งตัวจาก 1 เซลล์เป็น 2 เซลล์ โดยนิวเคลียสของเซลล์จะแบ่งตัวก่อน แล้วไซโทพลาซึมจะแบ่งตามได้เป็นตัวใหม่ 2 ตัว ซึ่งแต่ละตัวจะมีลักษณะเหมือนตัวเดิมทุกประการ เช่น การแบ่งตัวของอะมีบา
3.การงอกใหม่ (Regeneration) พบในสัตว์ชั้นต่ำ ได้แก่ ปลาดาว พลานาเรีย ไส้เดือนดิน ปลิง ซีแอนนีโมนี การงอกใหม่เป็นการสร้างส่วนของร่างกายที่ขาดหายไป โดยสัตว์เหล่านี้ถ้าร่างกายถูกตัดออกเป็นส่วน ๆ แต่ละส่วนจะสามารถงอกเป็นสิ่งมีชีวิตตัวใหม่ได้ ดังนั้นการงอกใหม่นี้จึงทำให้มีจำนวนสิ่งมีชีวิตเพิ่มขึ้นจากจำนวนเดิม
4.การสร้างสปอร์ (Spore Formation) เป็นการสืบพันธุ์ที่เกิดจากการแบ่งนิวเคลียสหลาย ๆ ครั้ง ต่อจากนั้นไซโทพลาซึมจะแบ่งตาม แล้วจะมีการสร้างเยื่อกั้นเป็นส่วน ๆ แต่ละส่วนจะมีนิวเคลียส 1 อัน เรียกว่า สปอร์ (Spore) สัตว์ที่มีการสืบพันธุ์แบบนี้ ได้แก่ พลาสโมเดียม ซึ่งเป็นสัตว์ที่ทำให้เกิดโรคไข้มาลาเรีย
วันพฤหัสบดีที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2559
DNA & RNA แตกต่างกันอย่างไร
DNA & RNA แตกต่างกันอย่างไร
DNA
1. เป็นสายคู่ (Double stand)
2. ไนโตรเจนเบส A G C T
3. น้ำตาล Deoxyribose
RNA
1. เป็นสายเดี่ยว ( Single stand)
2. ไนโตรเจนเบส A G
3. น้ำตาล Ribose
DNA
1. เป็นสายคู่ (Double stand)
2. ไนโตรเจนเบส A G C T
3. น้ำตาล Deoxyribose
RNA
1. เป็นสายเดี่ยว ( Single stand)
2. ไนโตรเจนเบส A G
3. น้ำตาล Ribose
วันพุธที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2559
การแพร่ กับ การออสโมซิส
การแพร่ กับ การออสโมซิส
1. การแพร่ คือ สารที่มีความเข้มข้นสูงแพร่ไปยังบริเวณที่มีความเข้มข้นของสารต่ำกว่า
*** ความเข้มข้นของสาร
2. การออสโมซิส คือ เป็นการแพร่ของโมเลกุลน้ำจากบริเวณที่มีน้ำมากไปบริเวณที่มีน้ำน้อยกว่า
*** น้ำมากไปน้ำน้อย
**น้ำแปรผกผันกับความเข้มข้น คือ น้ำมากความเข้มข้นของสารจะน้อยลง น้ำน้อยความเข้นข้นของสารจะมากขึ้น
1. การแพร่ คือ สารที่มีความเข้มข้นสูงแพร่ไปยังบริเวณที่มีความเข้มข้นของสารต่ำกว่า
*** ความเข้มข้นของสาร
2. การออสโมซิส คือ เป็นการแพร่ของโมเลกุลน้ำจากบริเวณที่มีน้ำมากไปบริเวณที่มีน้ำน้อยกว่า
*** น้ำมากไปน้ำน้อย
**น้ำแปรผกผันกับความเข้มข้น คือ น้ำมากความเข้มข้นของสารจะน้อยลง น้ำน้อยความเข้นข้นของสารจะมากขึ้น
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)