วันพฤหัสบดีที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2559

การสืบพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต

การสืบพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต

 1. การแตกหน่อ (Budding) 

เป็นการสืบพันธุ์ของสัตว์ชั้นต่ำ โดยเมื่อเจริญเติบโตเต็มที่แล้วจะมีการสร้างเนื้อเยื่อข้างลำตัวงอกออกมา แล้วเจริญเติบโตเป็นตัวเล็ก ๆ ที่มีอวัยวะต่าง ๆ เหมือนตัวแม่ หลังจากติดอยู่กับตัวแม่ระยะหนึ่งก็จะหลุดออกมาไปอยู่อิสระตามลำพัง สัตว์ที่มีการสืบพันธุ์ลักษณะนี้ได้แก่

ไฮดรา หนอนตัวแบน ฟองน้ำ ปะการัง และสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว (พวกโพรติสต์) เช่น ยีสต์ ไฮดราฟองน้ำ ในพืชชั้นสูงก็มีพวก ขิง ข่า กล้วย หน่อไม้ เป็นต้น –

โพรติสต์ หมายถึง สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวหรือหลายเซลล์ที่ไม่อาจจัดเป็นพืชหรือสัตว์ได้อย่างชัดเจน เช่น เห็ด รา ยีสต์ โปรโตซัว ไวรัส สาหร่ายสีเขียว สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน เป็นต้น –ไฮดรา (Hydra) เป็นสัตว์ชั้นต่ำประกอบด้วยเซลล์หลายเซลล์ มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ลำตัวคล้ายเส้นด้าย มีขนาดประมาณ 0.5 – 1 มิลลิเมตร ยาวประมาณ 0.5 – 1 เซนติเมตร มีหนวดเป็นเส้นยาว 4 – 12 เส้นลำตัวสีขาวขุ่น แต่บางชนิดมีสีเขียว ซึ่งเกิดจากสาหร่ายสีเขียวที่อาศัยอยู่ในตัวไฮดรา จึงทำให้สามารถสังเคราะห์แสงได้ อาหารของไฮดรา คือ ไรน้ำและตัวอ่อนของแมลงในน้ำ

ไฮดราสามารถสืบพันธุ์ได้ทั้งแบบไม่อาศัยเพศและแบบอาศัยเพศ ดังนี้

การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศของไฮดรา เมื่อไฮดราเจริญเติบโตเต็มวัย จะมีการสร้างเนื้อเยื่อข้างลำตัวงอกออกมา แล้วเจริญเติบโตเป็นไฮดราตัวเล็ก ๆ หลังจากนั้นก็จะหลุดออกไปอยู่ตามลำพังได้เอง การสืบพันธุ์แบบนี้ เรียกว่า การแตกหน่อ (Budding)

การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศของไฮดรา ไฮดรามีการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศได้ แต่เกิดขึ้นไม่บ่อยนัก ซึ่งจะเกิดขึ้นในกรณีที่อาหารไม่สมบูรณ์ ไฮดราจะมี 2 เพศอยู่ในตัวเดียวกัน โดยมีรังไข่อยู่ข้างลำตัว ลักษณะเป็นปุ่มใหญ่เหนือรังไข่บริเวณใกล้ ๆ หนวด (Tentacle) จะมีอัณฑะเป็นปุ่มเล็ก ๆ รังไข่จะผลิตเซลล์ไข่ และอัณฑะจะผลิตเซลล์อสุจิ โดยปกติไข่และตัวอสุจิจะเติบโตไม่พร้อมกัน จึงต้องผสมกับตัวอื่น ตัวอสุจิจากไฮดราตัวหนึ่งจะว่ายน้ำไปผสมกับไข่ที่สุกในรังไข่ของไฮดราตัวอื่นไข่ที่ผสมแล้วจะเป็นไซโกตซึ่งจะเจริญเติบโตอยู่กับตัวแม่ระยะหนึ่งจึงจะหลุดออกไปจากตัวแม่ แล้วเจริญเป็นไฮดราตัวใหม่ต่อไป

2. การแบ่ง ตัวออกเป็นสอง (Binary Fission) เกิดขึ้นกับสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว (พวกโพรติสต์) ได้แก่ อะมีบา พารามีเซียม ยูกลีนา และแบคทีเรีย การสืบพันธุ์วิธีนี้เกิดขึ้นโดยการแบ่งตัวจาก 1 เซลล์เป็น 2 เซลล์ โดยนิวเคลียสของเซลล์จะแบ่งตัวก่อน แล้วไซโทพลาซึมจะแบ่งตามได้เป็นตัวใหม่ 2 ตัว ซึ่งแต่ละตัวจะมีลักษณะเหมือนตัวเดิมทุกประการ เช่น การแบ่งตัวของอะมีบา

 3.การงอกใหม่ (Regeneration) พบในสัตว์ชั้นต่ำ ได้แก่ ปลาดาว พลานาเรีย ไส้เดือนดิน ปลิง ซีแอนนีโมนี การงอกใหม่เป็นการสร้างส่วนของร่างกายที่ขาดหายไป โดยสัตว์เหล่านี้ถ้าร่างกายถูกตัดออกเป็นส่วน ๆ แต่ละส่วนจะสามารถงอกเป็นสิ่งมีชีวิตตัวใหม่ได้ ดังนั้นการงอกใหม่นี้จึงทำให้มีจำนวนสิ่งมีชีวิตเพิ่มขึ้นจากจำนวนเดิม

4.การสร้างสปอร์ (Spore Formation) เป็นการสืบพันธุ์ที่เกิดจากการแบ่งนิวเคลียสหลาย ๆ ครั้ง ต่อจากนั้นไซโทพลาซึมจะแบ่งตาม แล้วจะมีการสร้างเยื่อกั้นเป็นส่วน ๆ แต่ละส่วนจะมีนิวเคลียส 1 อัน เรียกว่า สปอร์ (Spore) สัตว์ที่มีการสืบพันธุ์แบบนี้ ได้แก่ พลาสโมเดียม ซึ่งเป็นสัตว์ที่ทำให้เกิดโรคไข้มาลาเรีย





วันเสาร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2559

กลุ่มภาษา Gothic













ภาษา Gothic ในกลุ่ม East Germanic

ภาษา German อยู่ในกลุ่ม East Germanic
ภาษา Dutch อยู่ในกลุ่ม East Germanic
ภาษา English อยู่ในกลุ่ม East Germanic
ภาษา Danish อยู่ในกลุ่ม North Germanic
ภาษา Swedish อยู่ในกลุ่ม North Germanic






วันศุกร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2559

ภาษาอังกฤษกับภาษาอื่น ๆ ในตระกูล Indo - European


ภาษากลุ่มใหญ่ ๆ ของกลุ่มอินโดยูโรเปียนมีทั้งหมด 10 กลุ่มได้แก่
1. Indian
2. Indo - Iranian
3. Amenian
4. Hellenic
5. Albanian
6. Italic
7. Blto - Slovic
8. Germanic
9. Celtic
10. Hittie and Tocharian


ชนชาติต่าง ๆ ที่ได้รับเอาวิธีการเขียนของโรมัน


ชนชาติต่าง ๆ ที่ได้รับเอาวิธีการเขียนของโรมัน
หลังจากที่โรมันได้รับการเขียนจากกรีกมาแล้ว ก็ดัดแปลงวิธีการเขียนให้เป็นแบบตัวเอง โดยมีชนชาติต่าง ๆ เช่น ฝรั่งเศส เยอรมัน สเปน ได้รับวิธีการเขียนแบบโรมันไปใช้ในภาษาของตน ส่วนพวกสลาฟที่นับถือศาสนาคริสต์จากกรุงโรม เช่น เชค สโลวัค โครทส์ ฯลฯ ใช้อักษรแบบโรมันแต่มีการดัดแปลงโดยเติมเครื่องหมายบนตัวอักษร เช่น ภาษา Polish ใช้   cํ   และภาษา Czech ใช้ cv




การเกิดอักษรโรมัน


การเกิดอักษรโรมัน

วิวัฒนาการอักษรเกิดจากการบันทึกเหตุการณ์ด้วยการวาดภาพของพวกอินเดียนแดงขาวสุเมเรียน และ พวกบาบิโลเนียน ซึ่งพวกอินเดียนแดงจะวาดภาพลงบนหนังสัตว์ใช้ในการสื่อสารระหว่างเผ่าที่ใช้ภาษาแตกต่างกัน ระหว่างปี 3,000 - 4,000 BC ชาวสุเมเรียนซึ่งตั้งถิ่นฐานอยู่ทางใต้ของเมโสโปเตเมีย ได้สลักอักษรภาพบนดินเหนียว  ทำให้เกิดเป็นรูปลิ่ม (Wedge shaped mark ) ทำให้เกิดอักษรที่เรียกว่า "Coneiform" (อักษรลิ่ม) หรือเรียกเป็นวิวัฒนาการจาก pictograph ---> ideograph ( การเขียนสัญลักษณ์แทนความคิด) 

ชาวสุเมเรียนเป็นพวกมีอิทธิพลมากที่สุดในบริวเณเมโสโปเตเมีย ต่อมาถูกกลุ่มชนเซมิติค เฃ่น ชาวลาบิโลเนีย และ อัสซีเรียเข้ามามิทธิพลแทนที่ และ รับเอาการเขียนของชาวสุมเมเรียนไปดัดแปลงให้เป็นของตนเองจน "อักษรลิ่ม" กลายเป็นภาษาเขียนของชาวตะวันออก.

มาถึงสมัยที่ใช้พู่กันและขนนก เขียนบนกระดาษ ( papyrus ) ซึ่งทำให้วิธีการเขียนง่ายขึ้น เช่น การเขียนของชาวอียิปต์ เมื่อ 3,000 BC. เรียกว่า "ไฮโรกลิฟฟิค ( Hieroglyphic )" แปลจากภาษากรีก หมายถึง holy carved เพราะชาวกรีกเชื่อว่าการเขียนอักษรนี้เพื่อจารึกเกี่ยวกับศาสนา

ประมาณ 700 BC. ชาวกรีกได้เดินทางไปยังตะวันออกและได้พบวิธีการเขียนอักษรของพวกฟีนีเชยน
( Phoenicians )  และกรีกได้รับอักษรมาและดัดแปลงให้เป็นแบบกรีกพร้อมทั้งเรียกชื่อการเขียนอักษรแต่ละตัวด้วย เช่่น A = Aleph เปลี่ยนให้เป็นกรีกลงท้ายด้วยสระ = Alpha และ B = Beth เปลี่ยนชื่อเป็น Beta

 A = Aleph --> Alpha
 B =  Beth  --> Beta

สรุปภาษาของชาวสุเมเรียน

  - ใช้รูปภาพแทนสัญลักษณ์ของคำ
  - วิวัฒนาการถึง ideogram มีอักษรลิ่ม
  - สัญลักษณ์แทนพยางค์


อักษรกรีกที่ใช้กันที่กรุงเอเธนส์ ซึ่งเรียกว่า “อักษรไอโอนิค (Ionic Alphabet)” อักษรนี้ได้กลายมาเป็นการเขียนแบบมาตรฐานของกรีก และโรมันได้รับการเขียนอักษรของกรีกจึงนำไปดัดแปลงวิธีการเขียนใหม่ให้เป็นแบบของโรมันเอง โดยชาติต่าง ๆ ในยุโรป เช่น ฝรั่งเศส เยอรมัน สเปน ได้รับเอาวิธีการเขียนแบบโรมันไปใช้ในภาษาของตน



วันพฤหัสบดีที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2559

ภาษามนุษย์ แตกต่างจาก ภาษาสัตว์ อย่างไร?


ภาษามนุษย์ แตกต่างจาก ภาษาสัตว์ อย่างไร?
มนุษย์มีภาษาเขียน แตกต่างไปจากสัตว์ ซึ่งจะไม่มีภาษาเขียน แต่สัตว์สามารถสื่อสารกันได้ด้วยการส่งเสียงร้องแบบต่าง ๆ เช่น นกจะส่งเสียงร้องเตือนซึ่งกันและกัน เมื่อนกตัวหนึ่งพบอันตรายก็จะส่งเสียงร้องบอกต่อ ๆ กันไป


ลิงเป็นสัตว์ใกล้เคียงกับมนุษย์จะส่งเสียงแสดงความโกรธ ความกลัว หรือความพอใจ แต่เสียงร้องของสัตว์ที่ใช้สื่อสารเรียกได้ว่าเป็น "ภาษาสัตว์"  แตกต่างจากภาษาคน เพราะเสียงร้องไม่ใช่การเปล่งเสียงพูดที่มีโครงสร้างมีระบบเสียง สระ พยัญชนะ ระบบคำ และ ไวยากรณ์ รวมทั้งทำนองเสียงต่าง ๆ ที่ประกอบกันเป็นภาษา เพราะมนุษย์สามารถบอกอันตรายได้เป็น "วลี" หรือ "ประโยค" ซึ่งชัดเจนกว่า "ภาษาสัตว์"


ภาษาคืออะไร


ภาษาคือ สัญญาณที่มีโครงสร้างเป็นระบบ สัญญาณที่ว่าอาจมาในรูปแบบของเสียงเรียกว่า “ภาษาพูด” หรือ อาจมาในรูปของการเขียนสัญลักษณ์เรียกว่า “ภาษาเขียน”


ภาษาที่เกิดขึ้นครั้งแรกในโลกคือ

ภาษาที่เกิดขึ้นครั้งแรกในโลกคือ   ภาษาพูด เป็นภาษาที่เกิดขึ้นเป็นหมื่น ๆ ปีมาแล้ว ภาษาเขียนเป็นภาษาที่เกิดขึ้นตอนหลังประมาณ 5,000 ปีมาแล้ว โดยพวกสุเมเรียน ภาษาเขียนจึงเป็นวิวัฒนาการขั้นแรกของภาษาพูดที่ถ่ายทอดเสียงลงเป็นสัญลักษณ์โดยมีกฏเกณฑ์ และ เป็นระบบ


วันพุธที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2559

ดอกทอง คือ ผู้หญิงเลวทุกประเภท ทุกชนิด

คำว่า "ดอกทอง" คือ ผู้หญิงเลวทุกประเภท ต้นกำเนิดมาจากภาษาจีนแต้จิ๋วว่า “หลกท่ง” ซึ่งเป็นคำด่าที่มีความหมายตามตัวอักษร

"หลก" แปลว่า “แดงเหมือนเหล็กเผาไฟ”

 "ท่ง"แปลว่า”เลวเหมือนไฟในนรก”

ประวัติ

    ในอดีตมีสตรีจีนนางหนึ่ง ผู้ที่คิดทรยศสามีด้วยการอยากได้อยากมีสมบัติมาเป็นของตัวเอง นางจึงได้จ้างวานนักฆ่า ให้มาฆ่าสามีเพื่อหวังจะได้สมบัติเพียงผู้เดียว แต่นางหารู้ไม่ว่า ชายที่นางจ้างวานให้มาฆ่าสามีนั้นเคยเป็นคนรับใช้ผู้ซื่อสัตย์ของสามีมาก่อน ความจริงจึงปรากฎ ชายผู้เป็นสามีจึงได้คิดกำจัดนางโดยวางยาพิษแสร้งให้นางตายใจ ในคืนนั้นนางได้กินยาสมุนไพรพิษที่สามีเป็นคนปรุงเองกับมือ นางดิ้นทุรนทุรายก่อนจะขาดใจตาย สามีของนางได้กล่าวสาปแช่งนาง พร้อมกับคำพูดหนนึ่งว่า "หลกท่ง" เมื่อเข้ามาในประเทศไทย เข้าใจว่า คนไทยจะยืมคำ “หลกท่ง” นี้มาจากคนจีนแต้จิ๋ว โดยถ่ายสำเนียงกลับเพราะคิดว่าคนจีนพูดไม่ชัด พอนานๆเข้า เสียงการออกคำจึงเปลี่ยน จากคำว่า "หลกท่ง" กลายมาเป็น “ดอกทอง” และคนไทยส่วนใหญ่จะเข้าใจว่า "ดอกทอง" เอาไว้ใช้เรียกผู้หญิงที่ แรด ร่านราคะ หรือชอบแย่งผัวชาวบ้าน แต่จริงๆแล้ว มันมีความหมายไม่ดีทั้งหมด ดังนั้น

ดอกทอง คือ ผู้หญิงเลวทุกประเภท ทุกชนิด 



วันศุกร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2559

ระบบกฎหมายของโลก มี 2 แบบ

ระบบกฎหมายของโลก มี 2 แบบ

1. Civil Law คือ ระบบประมวลกฎหมาย เป็นระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร ใช้ในประเทศต่าง ๆ ดังนี้ ได้แก่ ไทย เยอรมัน ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น เป็นต้น

2. Common Law หรือ ระบบเองโกลอเมริกันเป็น ระบบกฎหมายจารีตประเพณี หรือระบบกฎหมายที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ใช้ใประเทศต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ ได้แก่ อังกฤษ อเมริกา แคนาดา นิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย สิงคโปร์ มาเลเซีย เป็นต้น
















ข้อแตกต่างระหว่างระบบ Civil Law และ ระบบ Common Law 

1. ทัศนคติ ต่อกฎหมายลายลักษณ์อักษร นักกฎหมาย Civil Law เห็นว่าเป็นระบบเหตุผลที่ถูกต้องและเป็นกฎหมายทั่วไป นักกฎหมาย Common Law เห็นว่าเป็นกฎหมายที่ยกเว้นจากหลักทั่วไป (หลักทั่วไป คือ คำพิพากษาบรรทัดฐาน)

2. ทัศนคติ ต่อคำพิพากษา ระบบ Civil Law เห็นว่าเป็นเพียงคำอธิบายในการใช้ตัวบทกฎหมายในการปรับใช้แก่คดีไม่ใช่บ่อเกิดแห่งกฎกมาย และไม่ใช้ตัวบทกฎหมาย ดังนั้น คำพิพากษาใหม่อาจจะตัดสินเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาเดิม โดยวางหลักเกณฑ์หรือให้เหตุผลเสียใหม่ได้ ระบบ Common Law เห็นว่าคำพิพากษาของศาลเป็นบ่อเกิดของกฎหมาย ดังนั้นคำพิพากษาต่อ ๆ มาในกรณีอย่างเดียวกันย่อมต้องตัดสินตามแนวคำพิพากษาก่อน ๆ นั้นเสมอ

3. ทัศนคติ ต่อขนบธรรมเนียม จารีตประเพณี และศีลธรรม นักกฎหมาย Civil Law เห็นว่ากฎหมายลายลักษณ์อักษรเป็นกฎหมายที่อยู่เคียงคู่กับจารีตประเพณี และถือว่ากฎหมายเป็นสิ่งค้ำจุลศีลธรรมด้วย นักกฎหมาย Common Law มีความโน้มเอียงที่จะเห็นว่าทั้งจารีตประเพณีและศีลธรรมเป็นคนละเรื่องกัน ไม่เกี่ยวกับกฎหมายลายลักษณ์อักษร

 4. การใช้การตีความกฎหมายลายลักษณ์อักษร ระบบ Civil Law นักกฎหมายอาจตีความกฎหมายโดยนัยต่าง ๆ ได้ โดยพิจารณาตามเหตุผลในบทกฎหมายนั้น ๆ ระบบ Common Law กฎหมายลายลักษณ์อักษรที่ถูกตราขึ้นโดยรัฐสภานั้นเป็น "การตีความตามตัวอักษร" ซึ่งเป็นวิธีการตีความในระบบ Common Law โดยเฉพาะ และกฎหมายลายลักษณ์อักษรจะถูกนำมาใช้โดยวิธีการเทียบเคียง (Analogy) ไม่ได้

5. วิธีบัญญัติกฎหมายลายลักษณ์อักษร ระบบ Civil Law โดยหลักนั้นจะบัญญัติกฎหมายที่มีลักษณะเป็นหลักเกณฑ์ทั่วไป (บททั่วไป) โดยจะใช้เทคนิคในการบัญญัติเพื่อให้ครอบคลุมในกรณีปัญหาและเปิดโอกาสให้ผู้ใช้กฎหมายมีดุลยพินิจในการใช้กฎหมายนั้นให้เหมาะสมกับความเป็นธรรมในแต่ละคดี แต่ในบางบทมาตราหากไม่วางหลักเกณฑ์ทั่วไปได้อย่างสมบูรณ์ ก็จะบััญญติเป็นรายละเอียด ระบบ Common Law วิธีการบัญญัตินั้นต้องเขียนให้แน่นอนชัดเจนและละเอียด ดังนั้น สำหรับผู้ที่คุ้นเคยกับตัวบทในประมวลกฎหมาย เมื่ออ่านกฎหมายลายลักษณ์อักษรของประเทศในระบบ Common Law จึงรู้สึกว่ากฎหมายเขียนละเอียดมากจนเกินความจำเป็น มีลักษณืคล้ายสัญญามากกว่าที่จะเป็นตัวบทกฎหมาย ทั้งนี้เพื่อผูกมัดให้ผู้ตีความได้ใช้กฎหมายตามที่ฝ่ายนิติบัญญัติต้องการ













 ขอบคุณที่มา : http://easylawbyarisara.blogspot.com/2013/08/civil-law-common-law-civil-law-common.html






บิดาแห่งวิชาเศรษฐศาสตร์ คือ อดัม สมิธ(Adam Smith)

อดัม สมิธ (อังกฤษ: Adam Smith)
   
    นักปรัชญาศีลธรรม และ นักเศรษฐศาสตร์การเมืองผู้บุกเบิกชาวสกอตแลนด์ อดัม สมิธ เป็นผู้มีส่วนสำคัญในการกำหนดแนวคิดเศรษฐศาสตร์แนวตลาดเสรี เป็นบุคคลสำคัญในขบวนการที่เป็นที่รู้จักในชื่อว่า "ยุคสว่างของสกอตแลนด์" (Scottish Enlightenment)

    แนวคิดทางปรัชญาการเมืองและสังคมของ อดัม สมิธ เป็นพื้นฐานและประยุกต์เข้ากับแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ในแง่ของการส่งเสริมการแข่งขันเสรี การแบ่งงานกันทำก่อให้เกิดความมั่งคั่งของประเทศ การค้าระหว่างประเทศ ซึ่งการแบ่งงานกันทำระหว่างประเทศ จำทำให้สวัสดิการทางเศรษฐกิจของโลกดีขึ้น ถ้ามีการแข่งขันอย่างเสรมูลค่าของสิ่งของจะเท่ากัน ต้นทุนการผลิตและปัจจัยการผลิตจะได้รับผลตอบแทนเท่ากันในทุกอาชีพ แนวคิดของ อดัม สมิธ ยังคงมีอิทธิพลอยู่แม้ในปัจจุบัน เช่น แนวคิดเรื่องความมั่งคั่งของประเทศ การแข่งขันเสรี และการคลัง


ประวัติศาสตร์บุคคลสำคัญของไทย

ร.1 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช

1. สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี
2. เกิดสงคราม 9 ทัพ
3. เกิดกฎหมายตรา 3 ดวง

ร. 2 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศล้านภาลัย


1. เป็นยุคทองของวรรณกรรม

ร.3 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

1. สนธิสัญญาเบอร์นีย์ w/Eng

ร.4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

1.  สนธิสัญญาเบาว์ริง
2. สวมเสื้อผ้าเข้าเฝ้า
3.ใช้เหรียญกษาปณ์
4.พระราชพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา

ร.5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

1. ยกเลิกจตุสดมภ์
2. ตั้งธนาคารแห่งแรก (สยามกัมมาจล)
3. ผลิตธนบัตร
4. เลิกทาส

ร.6 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

1. ตั้งดุสิตธานี

ร.7 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

1.เกิดปัญหาเศรษฐกิจ
2. เปลี่ยนแปลงการปกครอง



วันพฤหัสบดีที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2559

DNA & RNA แตกต่างกันอย่างไร

DNA & RNA แตกต่างกันอย่างไร


DNA 

1. เป็นสายคู่ (Double stand)

2. ไนโตรเจนเบส A G C T

3. น้ำตาล Deoxyribose

RNA

1. เป็นสายเดี่ยว ( Single stand)

2. ไนโตรเจนเบส A G

3. น้ำตาล Ribose


วันพุธที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2559

วัวควายมี 4 กระเพาะ

กระเพาะวัวควาย มี 4 ส่วน 
3 ส่วนแรกเป็นหลอดอาหาร ขยายตัวขึ้นไม่มีการหลั่งน้ำย่อยออกมา คือ

1. รูเมน (ผ้าขี้ริ้ว) - หมักอาหารโดยจุลินทรีย์ (มีการบีบตัวย้อนกลับไปที่ปาก)

2. เรติคิวลัม (รังผึ้ง) - บดและผสมอาหาร(มีการสำรอกอาหารไปที่หลอดอาหาร)

3. โอมาซัม (สามสิบกลีบ) - ดูดซับน้ำและสารละลาย และบดอาหารผสมอาหาร

4. อะโบมาซัม คือส่วนของกระเพาะที่แท้จริงมีน้ำย่อยหลั่งออกมาย่อยอาหาร


การแพร่ กับ การออสโมซิส

การแพร่ กับ การออสโมซิส
1. การแพร่ คือ สารที่มีความเข้มข้นสูงแพร่ไปยังบริเวณที่มีความเข้มข้นของสารต่ำกว่า
 *** ความเข้มข้นของสาร

2. การออสโมซิส คือ เป็นการแพร่ของโมเลกุลน้ำจากบริเวณที่มีน้ำมากไปบริเวณที่มีน้ำน้อยกว่า
*** น้ำมากไปน้ำน้อย

**น้ำแปรผกผันกับความเข้มข้น คือ น้ำมากความเข้มข้นของสารจะน้อยลง น้ำน้อยความเข้นข้นของสารจะมากขึ้น




รายได้ทางเศรษฐศาสตร์

รายได้ทางเศรษฐศาสตร์ แบ่งเป็น 4 ประเภท 

ได้แก่

1. ค่าเช่า คือ ผลตอบแทนสำหรับเจ้าของที่ดิน
2. ค่าจ้าง คือ ผลตอบแทนสำหรับเจ้าของแรงงาน
3. ดอกเบี้ย คือ ผลตอบแทนสำหรับเจ้าของทุน
4. กำไร คือ ผลตอบแทนสำหรับผู้ประกอบการ

ศาสนาพราหมร์ - ฮินดู

ศาสนาพราหมร์ - ฮินดู

มีการแบ่งชนชั้นวรรณะ เรียงจากสูงไปต่ำดังนี้

1. พราหมณ์ - สั่งสอนผู้คนให้มีความรู้

    เกิดจากโอษฐ์ของพระพรหม มีสีเครื่องแต่งกายประจำวรรณะ คือ สีขาว ซึ่งแสดงถึงความบริสุทธิ์มีหน้าที่กล่าวมนต์ ให้คำปรึกษากับพระเจ้าแผ่นดิน ตลอดจนสอนมนต์ให้แก่คนทั่วไป ส่วนพวกที่เป็นนักบวชก็ทำหน้าที่สอนไตรเภทและประกอบพิธีทางศาสนา

2. กษัตริย์ - ปกครองบ้านเมือง

   เกิดจากพระอุระของพระพรหม และถือว่าสืบเชื้อสายมาจากพระอาทิตย์ สีเครื่องแต่งกายประจำวรรณะ คือ สีแดง ซึ่งหมายถึงนักรบ ทำหน้าที่รบเพื่อป้องกันหรือ ขยายอาณาจักร รวมทั้งเป็นนักปกครอง เป็นพระเจ้าแผ่นดินหรือคณะผู้ปกครองแบบสามัคคีธรรม

3. ไวศยะ (แพศย์) - ค้าขาย

   เกิดจากพระเพลา (ตัก) ของพระพรหม มีสีเครื่องแต่งกายประจำวรรณะ คือ สีเหลือง เป็นพวกแสวงหาทรัพย์สมบัติ ได้แก่พวกพ่อค้า คหบดี เศรษฐี และเกษตรกร

4. ศูทร - แรงงาน

  เกิดจากพระบาท (เท้า) ของพระพรหม มีสีเครื่องแต่งกายประจำวรรณะ คือ สีดำหรือสี อื่น ๆ ที่ไม่มีความสดใส มีหน้าที่เป็นกรรมกร ลูกจ้าง

5. จัณฑาล - แต่งงานข้ามวรรณะ

   จัณฑาล เป็นอีกวรรณะหนึ่งซึ่งถือว่าเป็นพวกต่ำสุด คือ จัณฑาล ลูกที่เกิดจากพ่อแม่ต่างวรรณะกัน ถือเป็นพวกจัณฑาล ซึ่งจะถูกรังเกียจและเหยียดหยาม ไม่มีคนในวรรณะอื่นคบหาสมาคมด้วย การถือวรรณะอย่างรุนแรงเช่นนี้ เป็นพื้นฐานอันสำคัญอย่างหนึ่งของสังคมอินเดียทั้งก่อนพุทธกาลและในสมัยพุทธกาล    


* การแต่งงานที่สามีภรรยาอยู่ในวรรณะเดียวกันลูกจะอยู่ในวรรณะเดียวกับพ่อแม่

** ถ้าแต่งงานข้ามวรรณะ ถือเป็นพวกจัณฑาล คือพวกไม่มีวรรณะ จะถูกสังคมรังเกียจและเหยียดหยามมาก



ชื่อเรียกของเงิน

ชื่อเรียกของเงิน เปลี่ยนไปตามสถานะ เช่่น

1.ให้โรงเรียน เรียกว่า แป๊ะเจี๊ยะ
2. แต่งงาน เรียกว่า สินสอด
3. หย่า เรียกว่า สินสมรส
4. ยืม เรียกว่า หนี้สิน
5. ให้รัฐบาล เรียกว่า ภาษี
6. ในศาลเรียกว่า ค่าปรับ
7. เกษียณ เรียกว่า บำนาญ
8. ให้ไปทำงานเรียกว่า เบี้ยเลี้ยง
9. ตอบแทนค่าบริการ เรียกว่า ทิป
10. ในการลักพาตัว เรียกว่า ค่าไถ่
11. จ่ายค่าบริการที่ผิดกฎหมาย เรียกว่า ส่วย


วันอังคารที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2559

การเรียงตัวอักษรบนคีย์บอร์ด

ทราบหรือไม่ ?

การที่ตัวอักษรบนคีย์บอร์ดเรียงจาก QWER  แทนที่จะเป็น ABCD นั้นเป็นเพราะถูกวิเคราะห์มาแล้วว่า การเรียงตัวอักษรแบบนี้จะทำให้นิ้วมือชนกันน้อยที่สุด