มีการแบ่งชนชั้นวรรณะ เรียงจากสูงไปต่ำดังนี้
1. พราหมณ์ - สั่งสอนผู้คนให้มีความรู้
เกิดจากโอษฐ์ของพระพรหม มีสีเครื่องแต่งกายประจำวรรณะ คือ สีขาว ซึ่งแสดงถึงความบริสุทธิ์มีหน้าที่กล่าวมนต์ ให้คำปรึกษากับพระเจ้าแผ่นดิน ตลอดจนสอนมนต์ให้แก่คนทั่วไป ส่วนพวกที่เป็นนักบวชก็ทำหน้าที่สอนไตรเภทและประกอบพิธีทางศาสนา
2. กษัตริย์ - ปกครองบ้านเมือง
เกิดจากพระอุระของพระพรหม และถือว่าสืบเชื้อสายมาจากพระอาทิตย์ สีเครื่องแต่งกายประจำวรรณะ คือ สีแดง ซึ่งหมายถึงนักรบ ทำหน้าที่รบเพื่อป้องกันหรือ ขยายอาณาจักร รวมทั้งเป็นนักปกครอง เป็นพระเจ้าแผ่นดินหรือคณะผู้ปกครองแบบสามัคคีธรรม
3. ไวศยะ (แพศย์) - ค้าขาย
เกิดจากพระเพลา (ตัก) ของพระพรหม มีสีเครื่องแต่งกายประจำวรรณะ คือ สีเหลือง เป็นพวกแสวงหาทรัพย์สมบัติ ได้แก่พวกพ่อค้า คหบดี เศรษฐี และเกษตรกร
4. ศูทร - แรงงาน
เกิดจากพระบาท (เท้า) ของพระพรหม มีสีเครื่องแต่งกายประจำวรรณะ คือ สีดำหรือสี อื่น ๆ ที่ไม่มีความสดใส มีหน้าที่เป็นกรรมกร ลูกจ้าง
5. จัณฑาล - แต่งงานข้ามวรรณะ
จัณฑาล เป็นอีกวรรณะหนึ่งซึ่งถือว่าเป็นพวกต่ำสุด คือ จัณฑาล ลูกที่เกิดจากพ่อแม่ต่างวรรณะกัน ถือเป็นพวกจัณฑาล ซึ่งจะถูกรังเกียจและเหยียดหยาม ไม่มีคนในวรรณะอื่นคบหาสมาคมด้วย การถือวรรณะอย่างรุนแรงเช่นนี้ เป็นพื้นฐานอันสำคัญอย่างหนึ่งของสังคมอินเดียทั้งก่อนพุทธกาลและในสมัยพุทธกาล
* การแต่งงานที่สามีภรรยาอยู่ในวรรณะเดียวกันลูกจะอยู่ในวรรณะเดียวกับพ่อแม่
** ถ้าแต่งงานข้ามวรรณะ ถือเป็นพวกจัณฑาล คือพวกไม่มีวรรณะ จะถูกสังคมรังเกียจและเหยียดหยามมาก